วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการปลูกผัก hydroponics

ในการปลูกไม่ใช้ดิน อาจจำแนกได้หลายรูปแบบ โดยจำแนกได้ดังนี้

1. การปลูกในสารละลาย (Water culture)
ซึ่งเรียกว่าการปลูกแบบ Hydroponics โดยแบบนี้สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ

1.1 แบบน้ำไหลเวียน
โดยอาจไหลผ่านรางปลูกแบบฟิล์มบางเรียกว่า Nutrient film Technique (NFT) และน้ำลึกประมาณ ( ประมาณ 5 – 10 ซม.) ไหลผ่านรางปลูก เรียกว่า Deep Flow Technique (DFT) ซึ่ง
ทั้ง 2 แบบ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นรูปการค้ามากขึ้นเนื่องจากมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถตอบสนองในการเจริญเติบโตของพืชค่อนข้างมาก

1.2 แบบน้ำซึมเข้าสู่ระบบรากพืช (passive system)
โดยอาจทำได้โดยปลูกพืชแล้วมีส่วนที่เป็นท่อนำสารละลายปุ๋ยให้ได้สัมผัสกับรากพืช เช่น
ปลูกในภาชนะ 2 ชั้น โดยมีส่วนขังน้ำด้านล่างและด้านบน มีวัสดุปลูกมีส่วนดูดน้ำขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า
แบบ Capillary system อีกแบบคือ ให้รากพืชสัมผัสกับรากโดยตรงคล้ายกับแบบ Deep flow Technique แตกต่างตรงที่น้ำไม่หมุนเวียนแต่จำเป็นต้องเติมปริมาณก๊าซออกซิเจนลงไปละลายกับปุ๋ย
ซึ่งเรียกแบบนี้ว่า Float root system แบบนี้จะนิยมใช้ในการศึกษาพืชปลูกในสารละลายในช่วงแรกแต่กรณีปลูกทางการค้าจะประยุกต์ให้มีการไหลเวียนของน้ำเช่นเดียวกับแบบ NFT

แบบ Float root system
2. การปลูกโดยพ่นสารละลายใต้โคนรากพืช (Aeroponics)
โดยมีการควบคุมให้รากพืชสัมผัสสารละลายต่อเนื่องตลอดที่ต้นพืชต้องการ การปลูกพืชโดยพ่นสารละลายในอากาศทำให้ต้นพืชมีการเติบโตค่อนข้างดี แต่มีปัญหาอาจทำให้รากพืชแห้ง และยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ถ้าหากไม่ศึกษาสภาพแวดล้อมดีพอ การปลูกแบบ Aeroponics อาจนำมาประยุกต์ในการขยายพันธุ์พืชและใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาของต้นพืชในสภาพแวดล้อม ของแต่ละท้องที่

3. การปลูกโดยใช้วัสดุปลูก (Substrate culture)
ในการปลูกแบบนี้สามารถปลูกได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ปลูก ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
3.1 วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์ (Organic subsstrate) เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ขี้เลื่อย
แกลบ ถ่าน เปลือกไม้ ฮิวมัส ปุ๋ยหมักต่างๆ
3.2 วัสดุปลูกทีเป็นอนินทรีย์ (Inorganic substrate) โดยใช้วัสดุที่เป็นพวก ทราย กรวด
ฟองน้ำ การปลูกโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกจะปฏิบัติหลักการเดียวกับการให้นำปุ๋ยระบบน้ำแต่ต่างกันตรงที่ใช้แล้วจะให้ไหลกลับมาสู่ถังเก็บและปรับสภาพให้เหมาะสมในการปลูกพืชต่อไป การปลูกแบบนี้เหมาะสมกับบ้านเราในการปลูกพืชหัวโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับพวก กระเจียว ซ่อนกลิ่น ฝรั่ง
และผัก เช่น พริก มะเขือ

พืชที่จำเป็นต้องการให้ยึดโยงต้นให้แข็งแรง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา หรือไม้ยืนต้น และไม่เหมาะในการปลูกในพื้นที่ที่มีลมพัดแรง ๆ

4. การปลูกแบบระบบ DFT (Deep Flow Technique)

การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชในราง / ท่อ / ถาดปลูกระดับลึก (Deep Flow Technique) DFT
วิธีนี้จะนำต้นกล้าที่ปลูกบนแผ่นโฟม มาปลูกบนวัสดุปลูกที่เป็น
3.ท่อปลูกแล้วให้สารละลายธาตุอาหารลึกกว่า 2 แบบแรกที่กล่าวมาปกติแล้วถาดปลูกมักทำด้วย
1.โฟมขึ้นรูปเป็นตัว (U) คล้ายกล่อง
2. ท่อทรงกลมเพื่อใส่สารละลายธาตุอาหารพืช มีฝาปิดเรียกว่า แผ่นปลูกเพื่อรองรับต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำ หรือ เพาะในถ้วยเพาะ
ถ้าเป็นรางปลูกที่ทำจากท่อ และใช้กล้าที่เพาะในถ้วยเพาะจะสามารถให้สารละลายทั้งแบบหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องหรือให้เป็นระยะ ๆ แบบท่วมขังในท่อลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
(โดยน้ำจะท่วมรากพืชในถ้วยบางส่วน) ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูกได้อันเป็นเหตุผลของการปลูกระบบนี้
ถ้าเป็นถาดปลูกก็จะมีลักษณะคล้ายอ่าง สามารถใส่สารละลายธาตุอาหารได้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบหมุนเวียน
การปลูกโดยใช้ถาดปลูกจะเหมือนกับการปลูกพืชแบบลอยน้ำ (Float system) ซึ่งเป็นระบบที่ปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด การปลูกโดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืช ประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร เพื่อให้รากพืชบางส่วนถูกอากาศและบางส่วนจุ่มแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารซึ่งช่องว่างนี้สารมารถปรับลดได้ตามอายุของพืช โดยมีหลักว่า
1.ให้รากส่วนบริเวณตรงโคนจากส่วนที่เป็นแผ่นปลูกในช่องว่างก่อนที่จะจุ่มลงในสารละลายธาตุอาหารได้สัมผัสกับอากาศเป็น “รากอาหาร (Oxygen roots หรือ Aero roots)” เพื่อดูดอากาศ
2.รากส่วนที่จุ่มอยู่ในสารละลายธาตุอาหารทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืชเป็น “รากอาหาร (Water nutrient roots)” ดังนั้น พืชจึงได้รับทั้งอากาศและอาหารเพื่อการเจริญเติบโต (ซึ่งมีส่วนของรากอากาศประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร)

4.1. ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในรางปลูก

Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบ
ระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืช
ในระดับลึก ในรางปลูกระบบนี้ จะนำต้นกล้าที่เพาะ
โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิพูไลท์มาปลูกในรางปลูก
ซึ่งรางปลูกทำจากท่อพีวีซีทรงกลมแล้วให้สารละลาย
ธาตุอาหารในระดับลึก

ระบบ DFT เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ NFT เพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูก

4.2 ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในถาดปลูก.
Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืชในระดับลึกในถาดปลูก ระบบนี้จะนำต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำบรรจุลงถ้วยปลูกมาปลูกบนแผ่นปลูกที่ทำด้วยโฟมที่วางอยู่บนถาดปลูก แล้วให้สารละลายธาตุอาหารในระดับลึก โดยมีวัสดุปรับระดับความลึกของสารละลาย
ระบบ DFT แบบนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะ
รากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในถาดปลูก

คุณลักษณะของระบบปลูก
1. ระบบ DFT แบบปลูกในถาดปลูก มีขนาด 0.65 x1.35 เมตร ปลูกผักจีนได้ ถาดละ 60-100 ถ้วยปลูก ปลูกผักสลัดได้ถาดละ 20 ถ้วยปลูก ถาดปลูกผลิตด้วยพลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็นความหนาแน่นสูงด้วยระบบ INJECTION MOULDING พลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็น plastic ที่สะอาดมากที่สุดชนิดหนึ่ง
2. ตัวชุดปลูกสามารถใช้แบบอเนกประสงค์คือ ใช้เป็นถาดเพาะกล้า ถาดอนุบาลกล้า
และถาดปลูก ที่สำคัญคือสามารถต่อเป็นชุดปลูกแบบเป็นแถวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3. การเพาะและอนุบาลกล้า ทำการเพาะกล้าเมื่อเมล็ดงอกดีแล้วก็ย้ายลงสู่แปลงอนุบาล
ก่อนย้ายลงสู่แปลงปลูก
4. ตัวอย่างพืชที่ปลูก สามารถปลูกได้ทั้งผักฝรั่ง คือ ผักสลัด ผักไทย และผักจีน

บทบาทแร่ธาตุอาหารในพืชที่มีต่อร่างกายของผู้บริโภค

บทบาทแร่ธาตุอาหารในพืชที่มีต่อร่างกายของผู้บริโภค
ในร่างกายของเรามีความจำเป็นต้องการธาตุอาหารเช่นเดียวกับพืช ซึ่งเราเรียกว่า เกลือแร่
หรือแร่ธาตุ ที่เราได้รับทุกวันคือ ออกซิเจน ซึ่งได้รับจากการดื่มน้ำและหายใจทุกวัน ธาตุ 2 ตัวนี้ จะ
เกี่ยวกับกระบวนการเผาผลาญไขมัน แป้ง โปรตีน และสารอาหารที่เรากินเข้าไป ส่วนธาตุตัวอื่น เช่นคาร์บอน ไนโตรเจน แคลเซียม แมงกานีส โคบอลต์ สังกะสี คลอรีน ไอโอดีน โซเดียม โมลิบดินัม นิเกิล
ซิลิเนียม ซิลิคอน วาเนเนียม อาสินิก โครเมียม ฟลูออไรด์ และเหล็กก็ได้ จากที่เราบริโภคอาหารในแต่ละวัน การบริโภคผักที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินจะได้รับปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ บางชนิด

ซึ่งเราได้ให้ธาตุเหล่านี้ แก่พืชในสารละลายในปริมาณเพียงพอที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และเมื่อเราบริโภคพืชปริมาณธาตุอาหารก็จะถูกสะสมมาไว้ในร่างกายของคน ตัวอย่างเช่น ในผู้ชายที่มีน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม จะมีปริมาณธาตุอาหารสะสมแต่ละตัว
ส่วนปริมาณธาตุไนโตรเจนไม่แสดงไว้ในตารางเนื่องจากร่างกายเรานำไปสะสมอยู่ในรูปกรดอะมิโน หรือโปรตีนซึ่งจะขออธิบายบทบาทธาตุแต่ละตัวที่มีต่อประโยชน์ของร่างกายของเรา ดังนี้

ธาตุคาร์บอน (C) มีบทบาทในการสร้างพลังงานให้กับร่างกาย
ธาตุไนโตรเจน (N) เป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างโปรตีนในร่างกาย
ธาตุฟอสฟอรัส (P) มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไป
จะเข้าใจว่าธาตุฟอสฟอรัส มีบทบาทต่อการซ่อมบำรุงสมองจึงมีการบริโภคทาง
อาหารเสริมซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย โดยปกติร่างกายต้องการ
เพียงร้อยละ 1 ของน้ำหนักตัวเท่านั้น
ธาตุโพแทสเซียม (K) มีบทบาทในการรักษาประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อให้ทำงานปกติ
หากขาดจะทำให้ระบบเส้นประสาทสั่งงานผิดปกติได้
ธาตุแคลเซียม (Ca) มีบทบาทในด้านโครงสร้างกระดูกและฟัน และบางส่วนในโลหิต
ธาตุกำมะถัน (S) หากขาดทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายช้าลง
ธาตุเหล็ก (Fe) มีบทบาทสำคัญต่อเม็ดโลหิตแดง ซึ่งมีหน้าที่นำออกซิเจนไปให้เม็ดเลือดทำให้เซลล์มีการหายใจสะดวก หากมีไม่เพียงพอทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
ธาตุทองแดง (Cu) มีบทบาทในการช่วยระบบการหายใจ เป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดโลหิตแดงเจริญเติบโต
หากขาดธาตุทองแดงอาจเป็นสาเหตุโรคโลหิตจางเช่นเดียวกับขาดธาตุเหล็ก
ธาตุแมกนีเซียม (Mg) มีบทบาทในการทำให้เส้นประสาทมีความมั่งคง และช่วยในระบบย่อยอาหาร
ธาตุแมงกานีส (Mn) มีบทบาทที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ตามปกติ
ธาตุโคบอลต์ (Co) มีบทบาทช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ หากขาดทำให้ผิวหนังเกิดเป็นเกล็ดกล้ามเนื้อหย่อนยาน
ธาตุสังกะสี (Zn) มีบทบาททำให้ร่างกายมีการเจริญได้ตามปกติ เส้นผมมีสุขภาพดี ในกรณีร่างกายได้รับไม่เพียงพอ ทำให้ลำใส้ดูดซับธาตุอาหารได้ไม่ดี
ธาตุคลอรีน (Cl) มีบทบาทในการควบคุมโลหิต ช่วยในระบบการย่อย ทำให้ระบบหัวใจทำงานเป็นปกติ
ธาตุไอโอดีน (I) มีบทบาทต่อการทำงานของต่อมไธรอยด์ หากขาดทำให้เป็นโรคคอพอก

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) คืออะไร

ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)
การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน..จากโรงเรือนสู่โครงการอาหารกลางวัน

ปัจจุบันกระแสการหันมาใสใจในสุขภาพของคนไทยมีมากขึ้นเป็นลำดับ ผักปลอดสารพิษ ผักกางมุ้ง และผักไฮโดรโปนิกส์ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของผู้บริโภคที่กำลังได้รับความนิยมขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งนอกจากจะปลอดภัยจากสารพิษตกค้างแล้ว สีสันยังดูน่ารับประทาน และรสชาติดีอีกด้วย
ณ วันนี้ ผักไฮโดรโปนิกส์ นอกจากจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสุขภาพคนไทยแล้ว ยังจะเป็นหนึ่งในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในชุมชนใกล้เคียงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส) ที่อาจารย์อารักษ์ ธีระอำพน อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ลงไปสู่โรงเรียน ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการศึกษาของชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เทคโนโลยีและการจัดการที่ใช้ปลูกยังจะช่วยบ่มเพาะให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ รวมถึงกระตุ้นความสนใจในวิทยาศาสตร์อีกด้วย

"ไฮโดรโปนิกส์" (Hydroponics) คือการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน โดยหลักการแล้ว มี 2 แบบ คือ การปลูกในน้ำ ซึ่งบริเวณรอบๆ รากของพืชเป็นของเหลว และการปลูกในวัสดุแข็ง เช่น แกลบ ทราย ขุยมะพร้าว หินภูเขาไฟ ซึ่งเป็นวัสดุปลูกที่ไม่ได้ให้ธาตุอาหารกับพืชแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นวัสดุที่ช่วยค้ำและพยุงรากนั่นเอง

ในอดีต กระแสความนิยมของการปลูกพืชแบบนี้เป็นไปเนื่องเพราะความพยายามของบริษัทนำเข้าอุปกรณ์การปลูกมากกว่าจะเป็นกระแสบริโภคนิยมอย่างแท้จริง ทำให้ผักไฮโดรโปนิกส์ซบเซาไปพักหนึ่ง ก่อนที่จะกลับมาได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้งตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ด้วยคนไทยหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น กระแสการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์จึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งจากผู้บริโภค เกิดตลาดรองรับ และแม้แต่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ก็เล็งเห็นความสำคัญของการขยายตัว จึงให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการลงทุนด้านนี้ ทำให้มีผู้สนใจเข้ามาทำมากขึ้น ก่อให้เกิดรูปแบบ เทคนิค และเทคโนโลยีในการผลิตที่หลากหลายขึ้น กลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคตามมา

อาจารย์ อารักษ์กล่าวว่า พืชที่นิยมปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ กว่า 90 % เป็นประเภทพืชผักที่ใช้รับประทานในชีวิตประจำวัน อาทิ ผักสลัดหรือผักกาดหอมต่างประเทศ ในอดีตที่ต้องนำเข้ากิโลกรัมละหลายร้อยบาท แต่ปัจจุบันสามารถลดการนำเข้าได้เกือบ 100 % นอกจากนี้ยังเป็นพืชผักประเภทกลุ่มผักตะวันออก เช่น คะน้า กว้างตุ้ง คะน้าฮ่องกง ผักกาดขาว เป็นต้น ซึ่งปรากฏว่ามีคนสนใจเริ่มมาทำตรงนี้มากขึ้น และมีผลตอบรับค่อนข้างดี พืชผักกลุ่มนี้ก็ตอบสนองต่อระบบนี้ได้ดี ตลาดกว้างขึ้น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผักต่างประเทศกลุ่มเดียวเท่านั้น พืชผักที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง เช่น แตงเทศหรือแตงแคนตาลูป ที่ฟาร์มมหาวิทยาลัยกำลังผลิตอยู่ ซึ่งหากปลูกในสภาพแวดล้อมปกติจะต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก มีสารพิษตกค้าง ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่หากปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ รวมทั้งสามารถควบคุมคุณภาพได้ด้วย และแม้แต่พืชผักและพืชสมุนไพร เช่น สะระแหน่ วอเตอร์เครส หญ้าปักกิ่งหรือหญ้าเทวดา ก็สามารถตอบสนองต่อระบบไฮโดรโปนิกส์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหญ้าเทวดา พบว่าให้ผลผลิตสูงมากเมื่อเทียบต่อตารางพื้นที่ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา"

ส่วนวิธีการจัดการการดูแลผักไฮโดรโปนิกส์ ต้นทุนส่วนใหญ่จะตกอยู่ที่ค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเรือนและวัสดุปลุกซึ่งค่อนข้างสูง นอกจากนี้สภาพแวดล้อมของเมืองไทยยังไม่เหมาะสม และงานวิจัยทางด้านนี้ยังมีน้อย "…การจะปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ พืชบางชนิดจำเป็นต้องปลูกในโรงเรือน เช่น แคนตาลูป ซึ่งมีแมลงศัตรูมาก การปลูกในโรงเรือนช่วยกันแมลง กันฝน กันสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม รวมถึงสามารถลดการใช้สารเคมีได้เกือบ 100 % ขณะเดียวกันการปลูกสลัดก็ไม่จำเป็นต้องใช้โรงเรือน เพราะเป็นพืชที่แทบจะไม่มีแมลงศัตรู เป็นต้น ดังนั้นผมคิดว่าจะใช้โรงเรือนหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชมากกว่า เพราะการจัดการโรงเรือนและวัสดุปลูกเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง โดยฝ่ายวิเคราะห์ต้นทุนของธนาคารกสิกรไทย พบว่า การจัดการโรงเรือนเป็นค่าใช้จ่ายมากกว่าครึ่งหนึ่งของงบประมาณที่ลงไป แต่ถือว่าเป็นงบลงทุนซึ่งมีผลในระยะยาว ในระดับมหาวิทยาลัยเราเน้นว่าการจัดการควรเป็นเทคโนโลยีแบบง่ายๆ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้ได้มากที่สุด และพัฒนาระบบและเทคโนโลยีของเราเองขึ้นมา เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ประเพณีหรือวัฒนธรรมของเรา พยายามลดต้นทุนในด้านต่างๆ เช่น หาวัสดุปลูกในประเทศ เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าจุดคุ้มทุนเป็นอย่างไรในการลงทุน การลงทุนในครั้งแรกอาจจะแพงกว่าการปลูกในดินแต่ในระยะยาวหรือภายใน 1 ปี ก็สามารถคืนทุนได้ ฉะนั้นจึงไม่เป็นปัญหาว่าจะเกิดการล้มเหลว แต่มีข้อแนะนำคือหากจะเริ่มก็ไม่ควรเริ่มต้นจากโครงการใหญ่ๆ ต้องลองจากขนาดเล็กๆ ก่อน เพื่อให้รู้จักวิธีการจัดการ เทคโนโลยี รวมถึงมีความเชี่ยวชาญก่อน เมื่อมั่นใจแล้วจึงขยายออกไป"

ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม สิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะหลีกเลี่ยงได้ยากก็คือกระแสของการคัดค้าน ซึ่งเหมือนสองด้านของเหรียญอันเดียวกันที่มองต่างมุม "…มีข้อมูลเชิงลึกที่ถกเถียงกันในระดับนานาชาติ ก็คือ เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าไฮโดรโปนิกส์ใช้ปุ๋ยเคมี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็ออกมาบอกว่าน่าจะมีสารตกค้างในพืช โดยเฉพาะสิ่งที่กลัวกันที่สุดคือปุ๋ยเคมีที่เป็นพวกไนโตรเจนไนเตรท ว่าเกี่ยวข้องกับสุขภาพคนโดยตรง แต่ทางไฮโดรโปนิกส์ ก็แย้งว่าถ้าคุณมีความรู้ทางด้านวิชาการ จะรู้ว่าการตกค้างของสารไนโตรเจนไนเตรทแทบจะไม่มีเลย หรือมีก็ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เราใช้ปุ๋ยเคมีจริง แต่คนที่กินผักไม่ได้กินสารเคมีโดยตรง เพราะว่ามันต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เปลี่ยนสภาพมาเป็นเนื้อเยื่อเป็นอะไรต่างๆ จึงค่อนข้างมั่นใจว่าเราสามารถตอบคำถามตรงนี้ได้ และในฐานะนักวิชาการที่คลุกคลีอยู่ ผมยืนยันได้ว่าปลอดภัยแน่นอน ไม่ต้องกลัวเรื่องสารพิษตกค้าง ไม่มีแน่นอนคน เพราะฉะนั้นคนที่ทำไฮโดรโปนิกส์จึงไม่กังวลกันมากนักถ้าต้องสู้กันด้วยหลักฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าเป็นเรื่องของกระแสการบลั๊พกันก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามสภาพความเป็นจริง ก็ต้องให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินว่าจะเชื่อฝ่ายไหน"

การปรับแปลง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่ชุมมชนถือเป็นอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญของมหาวิทยาลัย โดยอาจารย์อารักษ์ได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาการวิจัยไปสู่ชมชนโดยรอบ ด้วยการเข้าไปส่งเสริมให้โรงเรียนได้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อเป็นโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน "…โครงการนี้เกิดจากการที่เราทำวิจัยได้ระดับหนึ่ง โดยเริ่มจากการทำวิจัยที่เน้นเป็นเชิงธุรกิจขนาดเล็กที่สุด เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจขนาดเล็กและเกษตรกรผู้สนใจ เป็นการหาคำตอบในทุกๆ ด้าน เช่น ต้นทุน เทคโนโลยี ซึ่งมีผู้สนใจมาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้โรงเรียนต่างๆ ก็สนใจจะทำผักไฮโดรโปนิกส์ แต่ยังขาดความรู้และเทคโนโลยี จึงมีการประสานงานและศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น ปรากฏว่า โรงเรียนต่างๆ ให้ความสนใจ เบื้องต้นในภาคการศึกษาที่ 1/2544 เราเข้าไปส่งเสริมจำนวน 20 โรงเรียนในเขตอำเภอด่านขุนทดก่อน โดยการสำรวจ รับทราบปัญหาและอุปสรรค อบรมครูและผู้บริหารเพื่อถ่ายทอดต่อให้นักเรียน ผลิตวีดีทัศน์เพื่อให้สามารถศึกษาด้วยตัวเองได้ ผลิตชุดปลูกเริ่มต้นแจกฟรี หลังจากนั้นจะติดตามประเมินผลเป็นระยะๆ ว่าสิ่งที่ได้อบรมถ่ายทอดไป เมื่อโรงเรียนไปทำเองผลเป็นอย่างไร คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน โดยได้รับการสนับสนุนจาก สวทช.

"โครงการนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมโครงการอาหารกลางวันแล้ว ยังเป็นการให้เด็กได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ไปด้วยอีกทางหนึ่ง ที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้จริง ได้เรียนรู้ ทดลองทำ ได้ประสบการณ์ สนุกที่จะเรียนรู้ และเกิดความสนใจในวิทยาศาสตร์ในที่สุด นอกจากนี้ ยังจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน มีการเชื่อมโยงกับชุมชน นอกจากนี้ผลพลอยของโครงการนี้ ต่อไปหากโรงเรียนอื่นๆ สนใจก็อาจไปศึกษาจากโรงเรียนในโครงการได้ รวมถึงโรงเรียนเองอาจทำหน้าที่เป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร โดยที่มหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเท่านั้น ก็จะเป็นประโยชน์หลายต่อ สำหรับหน่วยงานหรือผู้สนใจข้อมูลทางด้านไฮโดรโปนิกส์เรายินดีให้คำปรึกษาเต็มที่" อาจารย์อารักษ์กล่าวในที่สุด

ในยุคของการพึ่งพาเทคโนโลยี เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไฮโดรโปนิกส์ก็เช่นเดียวกัน อาจดูใหม่และไกลเกินเอื้อมสำหรับบางคน แต่ ณ วันนี้ เทคโนโลยีนี้จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะมันกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมในการบ่มเพาะและพัฒนาเยาวชนของชาติให้เข้าสู่ขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง รวมถึงการเชื่อมโยงชุมชนและโรงเรียนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป…