วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศไทย

ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชเพื่อใช้เป็นการสาธิตแบบเกษตรท่องเที่ยว

1. สวนพืชไร้ดิน ของบริษัทซอยเลสเว็จจำกัด (Soilless Vet Co.,Ltd.) ดำเนินการโดยคุณจองชัยและคุณมุกดา เที่ยงธรรม ตั้งอยู่ที่ 8 ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โทร 0-3556-2200-1 โทรสาร 0-3556-2202 สำนักงานอยู่ที่ 333 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน กรุงเทพ 10700 โทร 0-2435-0400 โทรสาร 0-2433-2233 เป็นฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยผลิตผักจำหน่ายในพื้นที่ 200 ไร่ เริ่มผลิตในเดือนตุลาคม 2546 ด้วยประมาณการผลิต ผัก เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ ผักกาดขาว และผักสลัดชนิดต่างๆ ด้วยระบบ DRFT วันละประมาณ 1000 กิโลกรัม และยังผลิตพืชด้วยระบบใช้วัสดุปลูกเช่นแคนตาลูป ข้าวโพดแลพืชอื่นๆ ด้วย
สวนพืชไร้ดินเป็นสวนที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้าชมและเลือกซื้อผลผลิตพืชไร้ดินและสินค้าพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรบุรี
สิ่งที่สำคัญก็คือฟาร์มนี้มีแปลงปลูกที่ให้ผลผลิตพืชรอบปลูกละ 1 ต้นอันเป็นแปลงปลูกที่ยาวที่สุดในโลก
2. พิพัฒน์ฟาร์ม (Pipat Farm) ของคุณวีระ พิพัฒน์กุลสวัสดิ์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อรรควุฒิ ทัศน์สองชั้นเป็นที่ปรึกษาและคุณธรีนุช เทอด ไพรสันต์เป็นผู้จัดการ ตั้งอยู่ที่ 32/2-5 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี จังหวัด นนทบุรี 11110 โทร 0-2925-6961-9 ในพื้นที่ 40 ไร่ มีการวางรูปแบบเป็นสวนเกษตรเพื่อผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและจำหน่ายวัสดุอุปรณ์ทางการเกษตรที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ ได้เข้าชมและเลือกซื้อผลผลิตพื้นที่ผลิตคือ 1) สวนเกษตรพืชสวนที่เป็ฯไม้ผลต่างๆ เช่นทุเรียน มะม่วง มะยงชิด ขนุน มะพร้าวน้ำหอม หมาก กระท้อน เป็นต้นในพื้นที่ 10 ไร่ 2) การผลิตผักกางมุ้ง เช่น ผักคะน้า 3 ไร่ และ 3) ผลิตผักด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นผักสลัดหลากหลายชนิดด้วยระบบ DFT ในพื้นที่ 2 ไร่ ที่อยู่ภายใต้โรงเรือนเปิดด้านบนมุงด้วยพลาสติด (โพลิคาร์บอ เนตที่สามารถรองแสงยูวีได้เกือบ 100% ) มีระบบพ่นน้ำแบบพ่นฝอยเพื่อลดอุณภูมิและความชื้นให้แก่พืช
ระบบที่ปลูก 1 โต๊ะประกอบด้วยรางปลูกท่อ PVC สีฟ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว จำนวน 6 ท่อน ยาว ท่อนละ 8 เมตร แผ่นปลูกทำด้วยโฟม เจาะรูปปลูกกล้าที่เพาะในถ้วยปลูกโดยท่อปลูก 1 ท่อจะปลูกได้ 30 ต้น ดังนั้น 1 โต๊ะปลูกจะมีพืช 180 ต้น
การเตรียมต้นกล้า โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิคูไลท์ในอัตรา 3 ต่อ 1
น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชมีทั้งน้ำฝนและน้ำประปาที่ผ่านระบบ RO
3. กุลวิชญ์พาราไดซ์ฟาร์ม (Kullavit Paradise Farm) ของคุณสุวิทย์ โกวิทย์เจริญสุข ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านศาลากลาง ตำบลศาลากลาง อำเภอบางรวย จังหวัดนนทบุรี โทร 0-1647-0686 โทรสาร 0-2885-2299 ในพื้นที่เป้าหมาย 22 ไร่ ขณะนี้ดำเนินการแล้วในระยะแรก 6.5 ไร่ ปลูกพืชทั้งผักไทยและต่างประเทศแบบปลอดภัยจากสารพิษด้วยระบบ DRFT ด้วยกำลังการผลิตวันละ 200 กิโลกรัมและจะผลิตให้ได้ 1000 กิโลกรัมเมื่อพัฒนาพื้นที่เต็มโครงการ
สิ่งที่โดดเด่นของฟาร์มก็คือมีการตกแต่ภูมิทัศน์ภายในฟาร์มด้วยวัสดุรีไซเคิลที่สวยงาม จากการสนับสนุนจาก "ศูนย์รีไซเคิลพระสถาปนาพุทธิวังโส" มีพระสถาปนาพุทธิวังโสเป็นประธาน (ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ที่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ถนนจรัญสนิทวงค์ 32 บางกอกน้อย กรุงเทพ โทรศัพท์ และโทรสาร 0-2434-2146) ซึ่งเป็นศูนย์ที่พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการรีไซเคิลให้แก่สาธารณชนแบบกุศลทางเพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้การทำและการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่รีไซเคิล ดังนั้นฟาร์มนี้จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการรีไซเคิลที่ตกแต่งงานภูมิทัศน์เพื่อการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดินแห่งแรกของโลกซึ่งจุดเด่นของฟาร์มคือเขาตะปูที่มีความสูง 24 เมตร
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการจำหน่ายเป็นอาหาร
1. ฟาร์มและร้านสวนผัก ของคุณวิมุติ จินดาสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ 61 หมู่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50200 โทร 053-201690 มีคุณทวี ตันหลีเป็นผู้จัดการ ผลิตผักสลัดชนิดต่างๆ โดยระบบ NFT ด้วยกำลังการผลิตผักในฟาร์มที่ตั้งอยู่หลังร้านสวนผักวันละ 500 กิโลกรัม นอกจากจำหน่ายผักสดแล้วยังใช้ปรุงอาหารจำหน่ายที่ร้านสวนผักซึ่งสถานที่ตั้งดีมากเพราะตั้งอยู่ติดถนนในยานชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติและเปิดร้านสาขาชื่อร้านสวนผักกลางเวียงขึ้นอีกด้วย
รายการอาหารที่จำหน่ายมีหลายชนิดโดยเฉพาะสลัดหลากหลายชนิด เช่น สลัดผักสด สลัดผลไม้ สลัดทูน่า สลัดไก่ย่าง สลัดหมูย่าง สลัดเนื้ออบ สลัดกุ้ง และเชฟสลัด เป็นต้น
2. ร้านตะเกียง ของคุณเพียงจันทร์ ธารไพสาณ์ที่ใช้ผลิตผักจากการปลูกของสวนผักคุณสะอาดตั้งอยู่ที่ 32 หมู่ 1 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ขอนแก่น โทร 043-222478 ที่ปลูกผักชนิดต่างๆ ที้งผักสลัด ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ ผักกาดขาว โดยรบบ DRFT ด้วยกำลังการผลิตวันละ 30 กิโลกรัม มาปรุงอาหารที่ร้านตะเกียงซึ่งตั้งอยู่ที่ 704 ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
รายการอาหารที่ผลิตออกจำหน่ายมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก ผัดผักชนิดต่างๆ เช่น ผัดผักน้ำมันหอย
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพรรณไม้น้ำเชิงธรุกิจ
ฟาร์มผลิตพรรณไม้น้ำเชิงธุรกิจด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ของบริษัทอะแคว็ททริค พลานท์ เซ็นเตอร์ (Aquatic Plant Center) ประเทศไทย จำกัด ของคุณลิม ชัวโฮ ชาวสิงคโปร์ ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทร 0-2974-1524 ในพื้นที่ 17 ไร่ ใช้แรงงาน 20 คนและได้เปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดชุมพรในพื้นที่ 9 ไร่ ผลิตพรรณไม้น้ำส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก เช่น เนเธอร์แลด์ เยอรมนี ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสิงคโปร์มานานกว่า 20 ปี เริ่มพัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์เมื่อปี 2545 โดยการเลี้ยงในแปลงคอนกรีตในโรงเรือนขนาดใหญ่ รักษาอุณหภูมิของน้ำประมาณ 25 องศาเซล เซียส ความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนประมาณ 70-80% ให้สารละลายแบบหมุนเวียนโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงมีหลายชนิด แต่ที่เน้นหนักคือวงศ์อนูเบียสที่ส่งออกจำหน่ายราคาประมาณต้นละ 40 บาท ส่วนพันธุ์อื่นๆ เช่น ต้นผมทอง และพรรณ ไม้น้ำตระกูลอเมซอนจำหน่ายราคาเฉลี่ยต้นละ 5-7 บาท ข้อดีของการเพาะเลี้ยงระบบไอโดรโพนิกส์ก็คือพืชจะปลอดภัยจากเชื้อราและหนอน ส่วนการเพาะเลี้ยงด้วยระบบอื่นๆ นั้นบริษัทได้นำสมุนไพรมาใช้ในการป้องกันศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชในสถาบันการศึกษา
ฟาร์มปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมการเกษตร รับผิดชอบโดยอาจารย์นิ่มนวล วาสนา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทร/โทรสาร 02-567-0784 เริ่มทำการผลิตผักด้วยระบบ DRFT จำนวน 42 แปลง เป็นฟาร์มที่ตั้งขึ้นการเรียนการสอนของนักศึกษา การแปลงสาธิต การฝึกอบรม ของของศูนย์ ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร (ศวษ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานหรือผู้ที่ สนใจทั่วไปมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2547
ฟาร์มนี้ยังเป็นฟาร์มที่สอนในการเรียนรู้ในการผลิตผักเชิงธุรกิจ ผักที่ผลิตเชิงธุรกิจให้แก่ตลาดใกล้เคียงมีทั้งผักสลัดและผักจีน แต่ส่วนใหญ่เป็นผักสลัดตามความต้องการของตลาด เช่น กรีน โอ๊ค เรด โอ๊คบัตเตอร์เฮด ฟิเลย์ นอกจากนี้ยังผลิตผักประเภทสมุนไพร (Herb) เช่น สะระเหน่ ผักแพว โพระพา จำหน่ายให้แก่ร้านอาหารเวียตนามเพื่อบริโภคกับแหนมเนื่อง เนื่องจากฟาร์มนี้มีที่ตั้งที่ดีคืออยู่ใกล้ตลาดทำให้กำลังการผลิตยังไม่พอเพียงต่อความต้องการของตลาด

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน hydroponic

ประโยชน์ของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ประโยชน์ของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเริ่มจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสภาพที่เป็นอยู่ จากนั้นจะกล่าวถึงการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการผลิตพืชเชิงธุรกิจ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับศักยภาพในการส่งเสริมนักท่องเที่ยวและการนำเข้าผักและผลิตภัณฑ์ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับงานภูมิทัศน์และการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการพัฒนาทางอวกาศในอนาคตตามลำดับ
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสภาพที่เป็นอยู่
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเป็นศาสตร์และศิลป์ที่สามารถใช้ปลูกพืชทั้วขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ได้ทุกสถานที่โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการปลูกจำนวนน้อยเพื่อบริโภคในครัวเรือนหรือการผลิตเชิงธุรกิจ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ปลูกที่มีพื้นที่น้อย เช่นผู้ที่อยู่อาศัยในแฟลตหรืออพาร์ตเมนต์ จึงสามารถปลูกได้ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม อังกฤษ เป็นต้น
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับนันทนาการภายในครอบครัว
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบขนาดเล็กหรือชุดเล็กสามารถสร้างนันทนาการหรือปลูกเพื่อใช้เป็นอาหารบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะเด็ก แม่บ้านและผู้สูงอายุได้โดยที่ไม่มีความยุ่งยากในการปลูกและดูแลรักษาเปรียบเสมือนกับการทำสวนตามปกติที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินเจริญใจและได้เรียนรู้หลักในการปลูกพืชเบื้องต้นไปพร้อมกัน นอกจากนี้ยังเป็นการดึงให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด้วย
- การปลูกพืชพืชโดยไม่ใช้ดินกับการศึกษา
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะชุดเล็ก (ที่เป็นชุดปลูกสำเร็จรูปหรือผลิตขึ้นเอง) จะเหมาะสำหรับการศึกษาทดลองของนักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้ที่สนใจทั่วไป แต่ถ้าเป็นการปลูกเชิงการค้าจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการควบคุมการผลิต
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับสุขอนามัยและการบริโภคผักโภชนาการสูง
ข้อดีที่ถือว่าเป็นจุดแข็งของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือไม่เปื้อนดินและปลอดภัยจากสารพิษผลผลิตที่ได้จึงมีความสะอาดกว่าการปลูกโดยใช้ดิน นอกจากนี้ยังให้ความสุขตาเพลินใจแก่ผู้ปลูกและผู้ที่พบเห็น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็มีความสวยงามน่ารับประทานและมีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูรและปลอดจากสารพิษตกค้าง เรียกได้ว่าพืชที่ปลูกจะเป็นทั้ง "อาหารตา อาหารใจ และอาหารปาก" โดยเฉพาะผักสดจะมีความนุ่มและกรอบว่า ผักที่ปลูกบนดินตามธรรมชาติเข้าลักษณะ "อาหารสะอาด รสชาติดี" หรือ "Clean Food Good Taste" ที่ยอมรับกันในระดับสากล โดยเฉพาะกลุ่มชนที่นิยม "กินเจ" หรือรับประทานอาหารมังสวิรัติทั่วโลก
เนื่องจากพืชโดยเฉพาะพืชผักเป็นพืชผักเป็นพืชที่มีโภชนาการสูงจึงมีคุณค่าทางอาหารต่อชีวิตเพราะช่วยบำรุงรักษาสุขภาพ ให้พลังงานแก่ร่างกาย เพราะอุดมด้วยวิตามินแร่ธาตุและความเป็นสมุนไพร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี ซึ่งพบมากในผักช่วยต้านทานมะเร็งได้ดี เช่นเบต้าแคโรทีนใน แครอท มันเทศ แลผักหัวเนื้อสีเหลืองและอื่น ๆ เป็นแอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง วิตามินซีที่พบมากในผักใบเขียว พริก มะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารและคอ พืชในตระกูลบรอกโคลี มีวิตามินที่เป็นเอนติออกซิแดนท์ช่วยป้องกันมะเร็ง ผักให้พลังงานแก่ร่างกายสูง ดังนั้นนักกีฬาจึงให้ความสนใจในเรื่องนี้กันมาก ประโยชน์ในด้านอืน ๆ คือทำให้แก่ช้าและช่วยลดความอ้วน รวมทั้งแต่งกลิ่นและเพิ่มรสชาติให้อาหารเป็นต้น ดังนั้นการบริโภคผักปลอดภัยจากสารพิษจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น
ผลผลิตที่ได้จากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นอกจากจะใช้เพื่อการ "บริโภค" ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น สลัดที่จำหน่ายแบบผักสุดเป็นต้น เพื่อใช้ปรุงอาหารหรือผักสลัดที่น้ำสลัดพร้อมรับประทาน (Salad Pack) หรือผักที่ผ่านกระบวนการล้าง บรรจุถุงที่พร้อมเปิดถุงเพื่อบริโภค ได้ทันที่ (Mixed Salad) แล้วยัง "สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย " อาทิใช้จัดแจกันรับแขก จัดเป็นกระเช้าของขวัญเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันเกิด เทศกาลปีใหม่ เพื่อมอบให้แก่ผู้ที่เคารพนับถือได้เป็นอย่างดีด้วย
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการผลิตพืชเชิงธุรกิจ
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถใช้ได้กับพืชหลากหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการปลูกพืชแต่ละชนิด ตั้งแต่ผัก (ผักจีน ผักไทย ผักฝรั่ง) พืชสมุนไพร ไม่มงคล พรรณไม้น้ำ ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ พืชไม้เลื้อย ไปจนถึงพืชยืนต้นสำหรับการผลิตเชิงธุรกิจ ในภาพรวมส่วนมากนิยมปลูกพืชจำพวกผักและไม้ผลที่เป็นพืชที่เก็บเกี่ยวช่วงอายุสั้น
โดยเฉพาะผักเมื่อพิจารณาในเรื่องของส่วนที่ใช้ประโยชน์คือผักใบ ผักผล ผักดอกและลำต้น ผักราก และหัว ผักเมล็ดและถั่วสดชนิดต่าง ๆ และผัก ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปพิจารณาผลิดในรูปอุตสาหกรรมแบบครบวงจรได้เป็นอย่างดี
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับการเพิ่มศักยภาพในการจัดการการผลิต
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถ "ผลิตพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี" และ "สามารถเพิ่มรอบการผลิต" ได้มาก "อายุสั้น" และ "คุณภาพสูง" กว่าการปลูกพืชบนดิน เนื่องจากมีการจัดการที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อพืชได้ เช่น การจัดการสารอาหารและการอนุบาลต้นกล้า เป็นต้น ในขณะที่พืชที่ปลูกบนดินมีขีดจำกัดเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศและการใช้พันธุ์เฉพาะจึงทำให้พืชส่วนมากสามารถปลูกได้ดีในฤดูหนาวอันเป็นฤดูที่มีผลผลิตออกมาล้นตลาด
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เนื่องจากเทคโนโลยีการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถควบคุมอุณหภูมิของสารอาหารและมีการจัดการการผลิตพืชผักเมืองหนาวได้ดีจึงทำให้สามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตผักรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานได้บริโภคผักที่ตนเองคุ้นเคยได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5-10 ล้านคน
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับกการการลดการนำเข้าผักและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะช่วยลดการนำเข้าทั้งผักเมืองหนาวและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องที่มีการนำเข้ามาในประเทศที่มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี เช่นในปี 2533 มีปริมาณการนำเข้า 2,775 ตัน มูลค่า 194 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นปริมาณ 57,579 ตัน มูลค่า 1,644 ล้านบาทในปี 2542
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับงานภูมิทัศน์
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนอกจากจะสามารถใช้ผลิตพืชสวนประดับเพื่อจำหน่ายเชิงธุรกิจดังกล่าวแล้ว ยังสามารถใช้ในงานภูมิทัศน์เพื่อดูแลรักษาพืชสวนประดับอาคารที่ทำการในเชิงธุรกิจได้เป็อย่างดีด้วย ตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านนี้เช่นแอฟริกาใต้และเนเธอร์แลนด์ สำหรับในเอเซียก็มีหลายประเทศที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานภูมิทัศน์ ในลักษณะพืชสวนประดับร้านอาหาร ภัตตาคาร สถานออกกำลังกาย เช่นสระว่ายน้ำ
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับโครงการอวกาศ
นับแต่ประวัติศาสตร์ที่มนุษย์สามารถเดินทางไปสูดวงจันทรได้สำเร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นต้นมาทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความกระตือรือร้นที่จะเดินทางไปสู่ดวงดาวอื่น ๆ กันมากขึ้น เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางในอวกาศได้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ การเดินทางในอวกาศที่ยาวนานของมนุษย์จะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อมี อาหารเพียงพอที่จะช่วยให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการตระเตรียมการผลิตรองรับไว้เป็นอย่างดี
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่เพียงก่อให้เกิดประโยชน์กับชีวิตและความเป็นอยู่ในปัจจุบันเท่านั้นแต่ยังจะก่อให้เกิดประโยชน์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในอนาคตอย่างมากด้วย ดังที่อดีตประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐอเมริกาได้กล่าวไว้ว่า "การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน (Hydroponics) จะเป็นเทคโนโลยีดีเด่นที่ใช้ในการผลิตอาหารในอนาคต
ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินโดยการปลูกแบบระบบไฮโดรโพนิกส์เพื่อใช้ในโครงการอวกาศให้แก่องค์การนาซ่า (National Aeronautic and Space Administration , NASA) ภายใต้โครงการชื่อ Controlled Ecological Life Support System (CELSS) เพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการผลิตอาหารสำหรับนักบินในโครงการอวกาศ โดยงานวิจัย นี้ดำเนินการทั้งที่ศูนย์ขององค์การนาซ่าและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่นมหาวิทยาลัยเพอร์ดูและสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยอริโซนา
การศึกษานี้มีหน่วยงานหรือองค์กรที่สำคัญให้การสนับสนุนและร่วมในการวิจัยหลายหน่วยงานรวมทั้งดิสนีย์ เวิร์ลด์ (Disney World) ด้วยเพื่อผลิตพืชที่ใช้เป็นอาหาร จำแนกออกเป็นสองโครงการย่อยคืออาหารที่ต้องใช้บริโภคระหว่างการเดินทางและอาหารที่ต้องใช้บริโภคเมื่ออยู่บนดวงดาวที่เดินทางไปถึง
โครงการผลิตพืชที่น่าสนใจคือโครงการผลิต "เครื่องจักรผลิตผักสลัด (Salad Machine)" เพื่อผลิตสลัดจากผักต่าง ๆ เช่น ผักสลัด แครอท แรดิช มะเขือเทศ แตง พริก ในพื้นที่ขนาดเพียง 2.8 ตารางเมตรด้วย เทคนิคและวิธีการง่าย ๆ ที่สามารถปลูกได้ทุกโอกาส และยังมีโครงการปลูกพืชในพื้นที่ที่ใหญ่ขึ้นมาเป็น 16 ตารางเมตร เพื่อปลูกพืชผักและธัญพืชอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี สลัด มันฝรั่ง ถั่วเหลืองเพื่อให้สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดหมุนเวียนกัน
- การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินกับความหลากหลายของอาชีพ
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนอกจากจะสามารถใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ การศึกษา ทดลองทาง วิทยาศาสตร์ การสร้างสรรค์นันทนาการในครอบครัว การสร้างเสริมความงามทางภูมิทัศน์ ฯลฯ แล้วยังสามารถ สร้างความหลากหลายในการประกอบอาชีพของผู้ด้อยโอกาสทางร่างกาย เช่น ทหารผ่านศึก ที่ได้รับความพิการจากการสู้รบหรือผู้ที่พิการโดยกำเนิดด้วย
ความแตกต่างระหว่างการปลูกพืชบนดินกับการปลูกโดยไม่ใช้ดิน
โดยปกติแล้วการที่พืชจะเจริญเติบโตได้ดีนั่นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่เหมาะสมหลายอย่าง เช่น สภาพภูมิอากาศ (แสงแดด อุณหภูมิ) น้ำ ธาตุอาหารพืชที่มาจากดิน น้ำและอากาศ (ออกซิเจน ไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์) ทั้งทางรากส่วนเหนือดินและส่วนใต้ติน การที่พืชจะนำธาตุอาหารไปใช้ได้นั้นจะเกี่ยวข้องกับความเป็นกรด - ด่าง (ph) ของดิน
การปลูกพืชบนดินโดยทั่วไปถึงแม้ดินจะมีธาตุอาหารอันเป็นปัจจัยที่พืชต้องการ แต่ก็มักมีข้อเสียคือดินจะไม่มีความอุดมสมบูรณ์ตามที่พืชต้องการ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอนแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ เช่น โครงสร้างของดิน ปริมาณธาตุอาหารหรือความอุดมสมบูรณ์ ระดับ pH ไม่เหมาะสม ทำให้ยุ่งยากต่อการปรับปรุงคุณภาพและเสียค่าใช้จ่ายสูง ปัญหาเหล่านี้ทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่แน่นอน ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้น พืชจะได้รับสารละลายที่มีธาตุอาหาร เรียกว่า "สารละลายธาตุอาหารพืช" ที่ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที เพราะมีการปรับค่า EC (Electrical Conductivity) และ pH ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติมโตของพืชอยู่ตลอดเวลา
อันที่จริงแล้วจะไม่มีความแตกต่างทางสรีรวิทยาของรากพืชที่จะนำธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ไม่ว่า จะเป็นการปลูกบนดินตามธรรมชาติ หรือการปลูกไม่ใช้ดิน
สำหรับการปลูกพืชบนดินธรรมชาติ "สารอาหารในดิน (Soil solution)" ที่เป็นอาหารพืชที่อยู่ในน้ำในดิน หรือ "ธาตุอหารในสารละลายและที่ดูดซับกับ คอลลอยด์ดิน (Soil colloid)" นั้นจะมาจากวัตถุที่เน่าเปื่อยผุพังย่อยสลายที่มาจากวัสดุที่เป็นทั้ง อินทรีสาร (Organic) เช่นปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ย่อยสลายเป็นฮิวมัส และ อนินทรียสาร (Inorganic) เช่นปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในขณะที่การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นพืชจะได้รับ "สารละลายธาตุอาหาร" ที่มาจากการละลายของปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีในน้ำที่ให้ธาตุอาหาร (ส่วนใหญ่เป็นอนินทรีสาร ยกเว้นเพียงยูเรียที่เป็นอินทรียสาร) เรียกว่า "สารละลายธาตุอาหารพืช" เพียงอย่างเดียว ทั้งสารอาหารในดินที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุพังตามธรรมชาติ ในกรณีของการปลูกพืชบนดินและสารละลายธาตุอาหารจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะสัมผัสกับรากพืชซึ่งพืชจะดูดเอาไปใช้ในการเจริญเติบโตต่อไป
เนื่องจากปุ๋ยเคมีที่มาจากวัสดุที่เป็นอนินทรียสารที่ใช้ปลูกพืชบนดินตามธรรมชาติก็คืปุ๋ยเคมีที่พืชต้องการชนิดเดียวกับปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั่นเอง ดังนั้นจึงไม่มีแตกต่าง

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การปลูกพืช hydroponics โดยไม่ใช้ดินกับสิ่งแวดล้อม

การปลูกพืชกับการกับการแก้ปัญหาอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในอาคาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น ระบบไฮโดรโพนิกส์ ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยทำลายอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในห้องพักและที่ทำการ (Indoor air pollution) นักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมนีพบว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นภายในอาคาร เช่นกลิ่นฟอร์มาลิน เบนซิน และฟีนอล ที่มาจากการใช้วัสดุตกแต่งห้อง เช่น วัสดุที่ทำจากพลาสติกวัสดุก่อสร้างสำนักงาน สี และนิโคตินจากการสูบบุหรี่

ผลจากการศึกษาวิจัยของอาค์การนาซ่า (NASA) และ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ที่ใช้เวลา 2 ปีได้แนะนำพืชที่ควรปลูกภายในอาคาร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากปัญหาสภาพภายในอาคารที่ไม่ดี (Sick bulding syndrome) พืชเหล่านี้เป็นพืชที่ช่วยดูดฟอร์มาลิน เบนซิน และคาร์บอนมอนอกไซด ได้แก่
พืชในวงศ์ปาล์มสกุล Chammaedorea sp. (Bamboo palm)
อโกลนีมา (Aglaonema sp หรือ Chinese evergreen)
พืชสกุลเดียวกับหมากผู้หรือจันทร์ผา (Dracaena sp.)
พืชสกุลเดียวกับว่านงาช้างหรือว่านงู (Sanseviera sp.)
พืชสกุลเยอบีร่า (Gerbera sp)
พืชสกุลเดียวกับดอกเดหลี (Spathiphllum sp.)
พืชสกุลเบญจมาศ (Chrysanthemum sp.)
พืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเหล่านี้สามารถดูดพิษจากฟอร์มาลินปริมาณมากไว้ในใบแล้วเปลี่ยนสิ่งที่ดูดไว้ถึง 90% ไปเป็นน้ำตาลและอื่น ๆ
นักวิจัยได้ศึกษาทดลองพบว่าพืชจำพวกไทร (Ficus) สามารถดูดนิโคตินแล้วเปลี่ยนสลายไปอย่างรวดดดเร็วด้วยการเจริญเติบโต รวมทั้งพบว่าพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอย(Pothos) สามารถดูดนิโคตินไว้ในใบอ่อนซึ่งนักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมณีพบว่ามีปริมาณถึง 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของใบ 1 กรับ การปลูพืชจำพวกไทยร่วมกับพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอยจะมีผลทำให้อากาศที่เป็นพิษในห้องทำงาน เปลี่ยนไปเป็นอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Halim and Tek, 2000)
การใช้การปลูกพืชโยไม่ใช้ดินผลิตพืชสวนประดับในที่ทำงานนอกจากจะสร้างความสวยงามดังกล่าว ธุรกิจการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่เกี่ยวกับพืชสวนประดับในที่ทำการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น สนามบิน โรงแรง อาคารที่ทำงาน รวมทั้ง้านพักอาศัยจึงได้รับความนิยมสูนในยุโรป สำหรับในเอเซียก็กบว่ากำลังเป็นที่นิยมกันในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งเพิ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่อประมาณกลางปี 2540
ที่มา : Halim and Tek,2000. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ดิเรก ทองอร่าม

ในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยแต่มีจำนวนประชากรหนาแน่น รัฐบาลและเอกชันได้ร่วมกันหาทางให้ประชาชนทั้งในเมือง และชนบทมีชีวิตและสุขภาพที่ดี เช่น สมาคมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของสิงค์โปร์ (The Singapore Society of Soilless Culture) และสมาคมปลูกพืชของสิงค์โปร์ (The Singapore Cardenig Society) ได้ร่วมกันรณณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเป็นสุข (Happy family life) อยู่กับธรรมชาติที่เขียวขจี (Green life) ด้วยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในพื้นที่ว่างตามบ้านพัก ที่ทำงาน และภัตตาคาร เป็นต้น (Halim and Tek,2000)


การเกิดปัญหาจากการตกค้างของไนเตรดในพืช
ในการปลูกพืชบนดินโดยปกติแล้วไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยในรูปของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยแอมโมเนียมที่ให้แอมโมเนียในรูหของปุ๋ยไนโตรเจนที่มักจะเดิมลงไปในดินนั้นเรามักจะพบว่าปริมาณของแอมโมเนียมน้อยเนื่องจากแอมโมเนียมจะถูกออกซิไดซ์ 2 ขั้นตอนอย่างรวดเร็ว กลายเป็นไนเตรตที่เป็นปุ๋ยหลักในดินโดยกิจกรรมขอเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มไนโตรโซโมเนส (Nitrosomonas spp.) และ ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter spp.) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการไนทริฟิเคชัน (Nitrification)

การเกิดการสะสมของไนเตรต เนื่องจากพืชเป็นสิ่งมีชิวิตที่สร้างอาหารได้เองโดยกระวนการการจัดการการผลิตที่พืชกำหนดขึ้นกระวนการเหล่านี้จะมีหลายกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเช่น "กิจกรรมสังเคราะห์" เพื่อการสร้างและ "กิจกรรมสลาย" จากผลผลิตที่ได้มาจากกิจกรรมหนึ่งไปเน็นกิจกรรม์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เช่น
การเปลี่ยนไนเตรต (N03) ไปเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก่อนที่พืชจะนำแอมโมเนีย (NH3) ไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนอันเป็นลักษณะของกิจกรรมสังเคราะห์
แต่บางครั้งแอมดมเนีย (NH 3) จะเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต (NO3) อันเป็นลักษณะของกิจกรรมสลายในขณะเดียว ก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนที่จะนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโน
เนื่องจากแอมโมเนีย (NH3) สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นประโยชน์ได้อย่างสมบรูรณ์และไม่เก็บกักหรือสะสมในเซลล์ของพืช ในขณะที่ไนเตรต (NO3) สามารถถูกดูดซับและสะสมในแวคิวโอล (Vacuole) ที่อยู่ในเซลล์พืชได้บ้าง เพื่อรอเมื่อต้องการเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนแต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่นขาดแสงแดดหรือธาตุโมลิบดินัม ดังนั้นจึงเกิดลักษณะการสะสมของไนเตรตในพืชขึ้นมา
ธรรมชาติในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช (ที่ปลูกบนดินหรือปลูกโดยไม่ใช้ดิน) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เมื่อได้รับไนเตรตเข้าไปแล้วพืชจะไม่สะสมไนเตรตไว้นานเนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงโดยใช้เอนไซม์ต่างๆ ในพืชมาเร่ง ปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงเป็นแอมโมเนียและกรดอมิโนต่อไป (ยงยุทธ เจียมไชยศรี,2546)
เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีแสงแดดเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือการมีอากาศร้อนและมี "แสงแดด" จัด หรือความเข้มของแสงมากและมีชั่วโมงของแสงที่ยาวนานจะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามปกติหรือทำให้ไม่มีการสะสมของไนเตรตในพืช ดังนั้นปัญหาการตกค้างของไนเตรตมักจะเกิดกับพืชที่ปลูกในโรงเรือนในประเทศที่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตก หรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้าที่มืดครื้ม 2-3 สัปดาห์ติดต่อกัน (Radojevic and Bashkin,1999) ส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยมักจะพบว่าปริมาณของไนเตรตจะมีมากในใบพืชในฤดูหนาว (และ ฤดูใบไม้ร่วง) มากกว่าฤดูร้อน (และฤดูใบไม้ผลิ)
สำหรับปัญหาเรื่องการตกค้างหรือการสะสมของไนเตรตในผลผลิตพืชในประเทศไทยนั้นไม่น่าจะมีหรือหากมีก็ไม่น่าจะอยู่ใน "ระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" (การตรวจวัดควรคำนึงถึงวิธีการเก็บและการทำความสะอาดพืชตัวอย่าง รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด) เนื่องจากประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตกหรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้า ที่มืครื้ม 2-3 สัปดาห์ ติดต่อกันเหมือนประเทศในเขตหนาว
ประโยชน์และปัญหาของไนเตรต
มนุษย์มิได้มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชเท่านั้นแต่ยังจะได้รับจากการบริโภคอาหาร "เนื้อสัตว์และผลผลิต" เพราะปกติแล้วจะมีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารใน 4 รูปแบบคือ
โพแทสเซียมไนเตรตหรือดินประสิว (KNO3) โซเดียมไนเตรต (NaNO3)

โพแทสเซียมไนไตรท์ (KNO3) และ โซเดียมไนไตรท์ (NaNO3)

เพื่อเป็น "สารเติมแต่ง (Food additives) สำหรับเนื้อสัตว์และผลผลิต" เพื่อให้สดและแต่งสี (ให้เป็นสีแดงแทนสีน้ำตาล) และเพื่อการถนอมอาหารโดยไนเตรตจะทำหน้าที่เป็น สารกันบูดหรือสารกันเสีย (Food preservative) คือไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางแคมีจำพวกออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้อาหารมีกลิ่นแปลกไปจากเดิมและป้องกัน ไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่าเจริญเติบโต โดยเฉพาะแบคทีเรียจำพวกคลอสตริเดียมคือคลอสตริเดียม บอทูลินั่ม (Clostridium botulinum) และคลอสตริเดียมเปอร์ฟรินเจน (Clostridium perfringens) ที่สามารถผลิตสารพิษหรือทอกซิน (Toxin) ที่มีพิษรุนแรงมากที่สุดที่ทำให้คนตายได้จนเรียกโรคที่เกิดจากถนอมอาหาร เช่น เนื้อหมัก เบคอนแฮม ไส้กรอกรมควัน เนื้อ เนื้อกระป๋อง พายหมู ปลารมควัน พิซซ่าแช่แข็งและเนยเข็งบางชนิดซึ่งจะใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่ประมาณ 120 มก./กก. (Radojevic and Bashkin,1999) ประเทศต่างๆ ได้กำหนดปริมาณการใช้สารเติมแต่ในอาหาร เช่นสหราชอาณาจักรกำหนดให้ไม่เกิน 500 มก./กก.) และค่า ADI ของNaNO3) ที่ 0-5 มก./(น้ำหนักของคนเป็น) กก. สำหรับ (KNO3) (NaNO3) ที่ 0-0.2 มก./กก. โดยค่า ADI=0 เป็นอาหารสำหรับทารก (Baby food) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่า ADI ที่ 220 มก./กก. สำหรับผู้ใหญ่ (Adult)

2. สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารได้ไม่เกิน 500 และ 200 มิลลิกรัมต่อเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัมตามลำดับแต่ในทางปฏิบัติผู้ผลิตมักจะใส่ในปริมาณสูงกว่านี้เพื่อให้เนื้อเป็นสีแดงและน่ารับประทาน โยเฉพาะในการทำเนื้อสวรรค์ เนื้อแดดเดียว ไส้กรอก แหนม ปลาเค็มและเนื้อสดในร้านก๋วยเตี๋ยว

3. ปัญหาที่มีไนเตรตในอาหารมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาของความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเพราะเมื่อกินไนเตรตเข้าไปแบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์จะเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ป่วย เช่น 1)ไปขยายหลอดเลือดให้ฟโตขึ้นทำให้ความดันเลือดต่ำลงทำให้รู้สึกเหมือนเป็นลมหมดสติ 2)ทำให้ตับไม่สามารถสะสมวิตามินเอได้ตามปกติ 3)ปัญหาสำคัญคือจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเนื่องจากไนไตรท์จะขัดขวางการพาออกซิเจนฮีโมโกลบินในเลือดกล่าวคือเมื่อไนไตรท์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้วจะเข้าจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนได้สารประกอบสีน้ำเงินจะทำให้เด็กตัวเขียวคล้ำ ขาดอากาศหายใจและอาจตายในที่สุด อาการเช่นนี้เรียกว่า โรคบลูเบบี้ (Blue baby syndrome) หรือ โรคเมทีโมโกลบิเนเมีย (Methemoglobiemia) ในเด็กเล็กและทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือนเพราะลำไส้มีความเป็นกรดที่พอเหมาะกับความต้องการของแบคทีเรียประเภทไนเตรตรีดิวซิ่งแบคทีเรีย (nitrate reducing bacteria) ที่จะเปลี่ยนไนเตรต เป็นไนไตรท์

นั่นคือไนไตรท์จะเปลี่ยนฮีโมโกลบิลให้เป็นเมทีโมโกลบิน (Methemoglobin) ซึ่งไม่มีอำนาจหรือความสามารถ ในการนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกายทำให้สมองขาดออกซิเจนและเป็นลมหมดสติ

การที่ผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ก็เพราะผู้ไหญ่มีเอ็นไซม์เมทีโมโกลบินรีดักเตส (Methemoglobin reductase) ที่คอยช่วยเปลี่ยนเมทีโมโกลบินให้เป็นฮีโมโกลบินได้ตามเดิม

สารไนเตรตและไนไตรท์ที่กินเข้าไปอาจถูกแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นสารที่ก่อให้เกิดสารก่อโรคมะเร็งหรือคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เช่นหากเปลี่ยนไปเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) แล้วอาจจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะการใส่ไนเตรตและไนไตร์ลงในเนื้อสัตว์ในปริมาณมากๆ เพื่อหวังให้เนื้อมี สีแดงสวยนั้น ถ้าหากมีการหมักเนื้อทิ้งไว้นานๆ จะเกิดปฏิกิริยาทางแคมีหลายชั้นเช่นสารอะมีน (Amine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในเนื้อสัตว์จะทำปฏิกิริยากับไนไตรท์เกิดสารไนโทรซามีนได้หลายชนิดด้วยกันเป็นสารที่ทำเกิดมะเร็งของตับได้มากที่สุด รองลงมาเป็นมะเร็งของหลอดเลือดอาหาร มะเร็งาของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งมะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ไต ทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ (ลำดวน เศวตมาลย์ 2525)

ปกติการที่มนุษย์จะได้รับผลเสียจากไนเตรตนั้นจะต้องบริโภคไนเตรตในปริมาณมากจนถึงขีดเป็นอันตราย

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชน้อยกว่าการได้รับจากการบริโภคอาหารที่มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่งอาหารที่ผิดพลาด (เช่น ลองพิจารณาจาการบริโภคผักกับแหนมหรือผักกับไส้กรอกเป็นต้น)

4. คณะกรรมการวิทยาศาสตร์เพื่ออาหารของสหภาพยุโรป (European Commission's Scientific Committee for Food) ได้กำหนดค่าที่ยอมรับว่าผู้บริโภคสามารถบริโภคไนเตรตได้อย่างปลอดภัย (Acceptable Daily Intake หรือ ADI) สำหรับไนเตรตอยู่ที่ 3.65 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของคนเป็นกิโลกรัม หรือประมาณ 219 มิลลิกรัมต่อวันต่อคนที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม

5. เนื่องจากแต่ละประเทศได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่นปวยเหล็ง (Spinach) สหรัฐอเมริการกำหนดให้ที่ 3,600 มก./กก. เนเธอร์แลนด์ที่ 3,000 มก./กก. และรัสเซียที่ 2,100 มก./กก. ส่วนผักที่รับประทานในเนเธอร์แลนด์และออสเตรียกำหนดปริมาณไนเตรตสูงสุดที่ 4,500 มก./กก. และ 3,000 มก./กก. สำหรับเยอรมนีสหภาพยุโรป (European Union) ได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดและในระยะเวลาที่บริโภคของผู้บริโภคดังแสดงในตารางที่ 13.1-13.2

6. ปัญหาในด้านอุตสาหกรรมการบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง ผักและผลไม้ที่มีไนเตรตสูง เมื่อบรรจุเป็นอาหารกระป๋องจะทำให้ผิวเคลือบดีบุกภายในกระป๋องเป็นสีดำซึ่งโรงงานสับปะรดกระป๋องได้กำหนดให้มีไนเตรตได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)

7. พืชอาหารสัตว์ที่มีไนเตรตเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องระดับของไนเตรตที่เป็นอันตรายต่อสัตว์คือ 0.7 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของสัตว์เป็นกิโลกรัม โคเนื้อและหมูจะแสดงอาการไวมากต่อระดับของไนเตรตในขณะที่แกะจะมีความทนได้มากที่สุด การมีไนเตรต 0.21 เปอร์เซ็นต์ของอาหารสัตว์ถือว่าเป็ฯอันตราย ต่อสัตว์เลี้ยง การที่สัตว์ได้รับไนเตรตมากจะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง การขาดวิตามินเอ แท้งลูก ระบบรังไข่และการให้กำเนิดลูกผิดปกติ (Radojevic and Bashkin,1999)

8. การใช้ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องอาจทำไห้มีไนเตรตในน้ำในดิน องศ์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดปริมาณ ไนเตรตและไนไตรท์สำหรับน้ำดื่มคือ 50 มก. NO3/ล. (หรือ 11 มก.N./ลิตร) และ 0.1 มก.NO3/ล. (Radojevic and Bashkin,1999)

9. สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องการป้องกันโรคมะเร็ง โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการบริโภคผักในตระกูลบรัสสิการ (Brussica) หรือผักในตระกูลเดียวกัน บร็อคโคลี (Broccoli) กะหล่ำใบ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาวหรือ คะน้าอันเป็นผักที่อุดด้วยสารประกอบที่สามารถป้องกันมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ดีเนื่องจากผักในตระกูลบรัสสิกานี้มีสารเคมีชื่อสินิกริน (Sinigrin) และกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อต้านโรคมะเร็ง สารทั้งสองชนิดนี้จะทำงานเมื่อเซลล์พืชเสียหายในระหว่างกระบวนการปรุงเป็นอาหารหรือเมื่อถูกขบเคี้ยวโดยจะปล่อยเอนไซม์ ชนิดหนึ่งออกมา เอนไซม์ที่ปล่อยออกมานี้จะไปเปลี่ยนกลูโคราฟานินให้เป็นซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายถูกขับออกมาขจัดสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (คือสารคาร์ซิโนเจน) ให้หมดไป

10. งานวิจัยในระดับปริญญาเอกของนุชนาถ รังคดิลก ที่สถาบันทรัพยากรที่ดินและอาหาร มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในปี 2544 ยืนยันว่า "กินคะน้าไม่เป็นมะเร็ง" ซึ่งความเข้มข้นของกลูโคราฟานินของผักในตระกูลบรัสสิการจะมีมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และระยะการเจริญเติบโต เช่น เมล็ดและต้นอ่อนของบร็อดโคลีจะมีระดับของกลูโคราฟานินสูงกว่าต้นที่โตเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่าการเก็บรักษาผักสดในถุงพลาสติก (Polyethylene) สามารถรักษาปริมาณสารนี้ในผักได้ ประมาณสามสัปดาห์

การจัดการเพื่อลดไนเตรตตกค้างในพืช
การลดความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืชลง เช่นลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของการให้ความเข้มข้นตามปกติก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

อย่าให้สารละลายธาตุอาหารพืชขาดธาตุโมลิบดินัม ให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงโดยเฉพาะ "โมลิบดินัม" เนื่องจากโมลิบดินัมเป็นธาตุที่ช่วย (หรือโคแฟคเตอร์) ในหารทำงานของเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตส ดังนั้นอย่าให้พืชขาดธาตุโมลิบดินัมเพราะจะทำให้ความสามารถในการทำงานเพื่อลดการสะสมของไนเตรตของพืชลดลง

การจัดการแสง ให้พืชได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่หรือลดการพลางแสงก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์เพราะเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตสจะถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดให้เอนไซม์ทำงาน

การให้น้ำแทนการให้สารละลายธาตุอาหารพืช ถ้ายังไม่มั่นใจผลจากการปฏิบัติทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นก็ควรลดความเข้มข้นของสารละลายลงในสัปดาห์สุดท้ายและให้น้ำเปล่าหรือน้ำประปาแทนการให้สารละลายก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 วัน ดังเช่นผู้ผลิตในบางประเทศของยุโรปและในประเทศญี่ปุ่น นิยมปฏิบัติกันแต่ถ้าใช้หลักการนี้กับการปลูกแคนตาลูปอาจทำให้ความหวานลดลงได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยงานวิจัยรองรับ

อนึ่ง การสะสมไนเตรตนี้มิใช่จะเป็นปัญหาเฉพาะพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเท่านั้น การปลูกพืชบนดินก็สามารถเกิดปัญหาดังกล่างได้เช่นกันถ้ามีการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (เช่นแอมโมเนียมไนเตรต) ก่อนการเก็บเกี่ยวโดยที่ไนเตรตที่พืชดูดเข้าไปสะสมในเยื่อที่ยังไม่เปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอมิโนและโปรตีน ดังนั้นจึงไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวพืช

การไม่ย่อยสลายของวัสดุปลูก
วัสดุปลูกที่ผลิตจากสารสังเคราะห์จะไม่ย่อยสลายง่าย ทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข เช่น การไช้ใยหินหรือร็อควูล พลาสติกและปุ๋ย ดัวอย่างเช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีการใช้มากและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ร็อควูลและพลาสติกที่มีปริมาณ กล่าวคือในพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่ โดยใช้ร็อดวูลเป็นวัสดุปลูกจะมีวัสดุใช้แล้วที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ปริมาณร็อควูล พลาสติกและปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่

ประเทศเนเธอร์แลนด์พยายามแก้ไขปัญหาดัวกล่าวโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่หรือมีการหมุนเวียนใช้ใหม่ (Recycle) แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากเนื่องจากค่าขนส่งและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชไม่ใช่ปัญหาหลัก ในประเทศอินโดนีเซียได้มีการแก้ไขปัญหาการใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกโดยการนำมาใส่ถังยางมะตอยต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับการผลิตในประเทศไทยนั้น วัสดุปลูกที่เห็นกันมาก เช่น ถ้วยเพาะเมล็ดและถ้วยปลูกที่ทำจากพลาสติก รวมทั้งการใช้วัสดุปลูกอื่นๆ เช่นเพอร์ไลท์ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง สาเหตุที่ไม่กล้าใช้ซ้ำก็เนื่องจากกลัวปัญหาการเกิดโรค วัสดุดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากยากแก่การทำลายเพราะย่อยสลายยากแกรแก้ปัญหาโดยการนำกลับมาผลิตใหม่หรือ Recycle น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ตัวอย่างสำหรับการผลิตในระบบ NFT ที่ได้จากการสำรวจจากผู้ปลูกโดยระบบไฮโดร โพนิกส์ในประเทศไทยในปี 2543 จากการผลิตพืชจำพวกผักสลัด โต๊ะละ 576 ต้น จำนวน 30 โต๊ะต่อไร่ โดยผลิตจำนวน 8 ครั้งต่อปีจะมีการใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเกิดปัญหาจากสารอาหารพืชทำให้ดินและน้ำเสีย
การทำลายหรือการจัดการสารอาหารที่ใช้แล้วต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะปุ๋ยหรือสารเคมี โดยเฉพาะพวกไนเตรตและฟอสเฟตอาจไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลองหรือทำให้น้ำใต้ดินเสียหายได้

เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้จะขอยกตัวอย่างของลักษณะการใช้ธาตุอาหารและน้ำสำหรับการปลูกพืชประกอบดังนี้

ปกติแล้วเมื่อให้สารอาหารแก่พืช ผู้ปลูกต่างก็หวังว่าพืชจะใช้ปุ๋ยที่ให้ทั้งหมด 100% แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชที่ให้ผลผลิตเป็นผล เช่น มะเขือเทศและแตง จะใช้ปุ๋ยเพียง 50% โดยจะใช้เพื่อการสร้างลำต้น กิ่ง ใบ (Crop residue) 20% และอยู่ในผลผลิต (Product) อีก 30% ส่วนที่เหลือ 50% จะถูกระบายออกไป (Drainage) ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ใช้ถ้าคิดเป็น 100 % นั้นจะสูญเสียไปโดยการคายน้ำ (Transpiration) 70% และสูญเสียโดยการระบายออกไป 30%

ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่เพาะปลูกต้องมีไนโตรเจนต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตรและฟอสเฟตต่ำกว่า 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร

เนื่องจากพืชแต่ละชนิดจะใช้ปุ๋ยมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น มะเขือเทศที่ให้ผลผลิต 50 กิโลกรัมในพื้นที่ปลูกหนึ่งตารางเมตรต่อปีนั้นจะดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 900 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ต่อปี (144 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี) โพแทสเซียม 275 กิโลกรัม ต่อเฮกตาร์ต่อปี (44 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ดังนั้นการที่ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่ปลูกที่มีไนโตรเจนต่ำกว่า 10,20 หรือ 30 กิโลกรัมและฟอสเฟตระหว่าง 5-10 กิโลกรัมนั้นเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำมาก ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการจัดการอย่างเข้มงวดเพราะจากการตรวจสอบการสูญเสีย (Leaching) ของปุ๋ยและน้ำจากการปลูกพืชโดยใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกพืช โดยทั่วไปในประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าสารอาหารที่ให้มีปุ๋ย 1800 กรัม/ตารางเมตรจะสูญเสีย 945 กรัม ต่อตารางเมตร ประสิทธิภาพการใช้น้ำ 70% และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเพียง 52% ซึ่งประสิทธิภาพการใช้น้ำและปุ๋ยนี้ใกล้เคียงกับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชบนดินแบบธรรมดาก็ประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าวเช่นกันเพราะจากข้องมูลแสดงให้เห็นว่าจะมีการคายน้ำประมาณ 650 มิลลิเมตร หรือ 650 ลิตร ต่อตารางเมตรและน้ำที่ชะล้างความเค็ม (Leaching fraction) ประมาณ 30%

ไนโตรเจนในดิน (N-soil solution) ในโรงเรียนที่ปลูกพืชด้วยดินประมาณ 20 โมห์/ม3 ต้องการใช้น้ำมากกว่า 9,000 ม3 /เฮกตาร์ การคายน้ำ 6,500 ม3 มีน้ำที่ระบายวัดได้ 2,786ม3 ดังนั้นเมื่อคำนวณหาปริมาณของไนโตรเจนที่สูญจะได้ (2,786*20*0.014)=780 กก./เฮกตาร์ (หรือ 121.6 กก./ ไร่)

จะเห็นได้ว่าปริมาณของไนโตรเจนที่สูญเสียไปจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาไม่แตกต่างไปจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่มีการให้สารอาหารแบบระบบเปิดเลย

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่ได้เป็นตัวสร้างปัญหาเกี่ยวกับไนเตรตมากไปกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติ

สิ่งที่สำคัญก็คือการป้องกันการสูญเสียไนโตรเจนจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาทำได้ยากกว่าการปลูกโดยไม่ใช้ดินเพราะในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นสามารถนำสารอาหารพืชที่จัดการแล้วมาใช้หมุนเวียนได้อีก ในขณะที่การปลูกด้วยดินแบบธรรมดานั้นทำได้ยาก ในขณะเดียวกันยังสามารถจัดการเพื่อลดปัญหาได้ดีกว่าการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาอีกด้วย เช่น โดยการปรับปรุง (โดยการสเตอร์ไรล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค) สารอาหารที่ใช้แล้วเพื่อนำหลับมาใช้ใหม่อีกเป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยแล้ว การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถป้องกันหรือจัดการได้ดีกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติอีกด้วย โดยเฉพาะการผลิตในประเทศไทย

อนึ่ง จุดเด่นของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือนอกจากจะสามารถป้องกันโรคที่มาจากดินติดไปกับผลผลิตที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีข้องดีกว่าการปลูกผักกางมุ้งตรงที่สามารถป้องกันแมลงที่มีระยะการเจริญเติบโตที่เป็ฯดักแด้ที่อยู่ในดินได้ เพราะในการปลูกผักกางมุ้งนั้น ถ้าหากไม่มีกรเตรียมดินที่ดีหรือไม่มีการตากดิน หากมีหนอนที่เป็นดักแด้ในดิน เช่น หนอนกระทู้หอม (หนอนหนังเนียว) หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมออเมริกัน (Hellothis sp.) หลงเหลืออยู่แล้วก็จะออกมาขยายพันธุ์และระบาดทำลายพืชที่ปลูกในมุ้งได้

ผลกระทบจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เนื่องจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชโดยใช้หรือไม่ใช้ดินก็ตามจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คือเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

การจำแนกชนิดของสารแคมี สารแคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิดซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลาย รูปแบบเช่น

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามชนิดของศัตรูพืช คือ 1) สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) 2) สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) 3) สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) 4) สารป้องกันกำจัดไร (Accaricide) 5) สารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย (Nematicide) 6) สารป้องกันกำจัดหนู (Rodenticide)

ซึ่งพืชผักเป็นกลุ่มที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) มากที่สุด ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในกลุ่มนี้เป็นหลัก

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามลักษณะการเข้าทำลายศัตรูพืช คือ

1)ประเภทกินตาย (Stomach Poison) 2) ประเภทถูกตัวตาย (Contact Poison)

3) ประเภทดูดซึม (Systemic) 4) ประเภทรมควัน (Fumigant)

การจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticides) ปัจจุบันมีการจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลงออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมทและกลุ่มไพรีทรอยด์

1) กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorines) เป็นกลุ่มที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองสารพิษสามารถตกค้างได้ดีในไขมันและมีพิษตกค้างนานจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับศัตรูพืชอาหาร และส่วนมากได้ยกเลิกใช้ทางเกษตรไปแล้วหลายชนิด เช่น DDT และ Dieldein แต่ยังคงใช้ในด้านอื่นๆ เช่นใช้ DDT ในการกำจัดยุงและใช้ Dieldrin ในการกำจัดปลวก

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะดูดซับได้ดีทางลำไส้และผิวหนัง เมื่อได้รับในปริมาณมาก พอจะเกิดผลกระทบต่อการทำงานทางระบบประสาท โดยเฉพาะสมองและส่วนที่ควบคุมระบบหายใจ

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะ ตกใจง่าย ตกมัว ชาตามปลายมือและเท้า มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ชักหมดสติ

อาการพิษเรื้อรัง เบื่ออาหารและอ่อนเพลียและพิษเรื้อรัง น้ำหนักลด ตับเสื่อมสมรรถภาพ อ่อนแอติดเชื้อง่าย

2) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates) สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน กำจัดดีมีพิษตกค้างไม่นาน ควรใช้อัตราตามคำแนะนำเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปริมาณของสารพิษ ที่เข้าไปในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์โคลินเนสเตอเรส (Cholinesterase) อย่างถาวร ทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาทกล้ามเนื้อกระตุกสั่นจนเกิดอาการแกว่ง แต่ถ้าหากอซิติลโคลีนเพิ่มมากขึ้นแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อเรียบอ่อนเพลียจนเป็นอัมพาต

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน แน่นหน้าอก มวนท้อง เหงื่อออก น้ำลายและน้ำตาไหล ม่านตาหรี่ กล้ามเนื้อกระตุก มึนงง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชัก หมดสติ เป็นอัมพาต หายใจขัดและหัวใจเต้นช้า หอบ

อาการพิษเรื้อรัง มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและกล้ามเนื้อ

3) กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamates) ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะแมลงชนิดปากดูดและศัตรูพืชที่อยู่ในดิน เช่นไส้เดือนฝอยและหอยทาก สารกลุ่มนี้มีทั้งมีพิษร้ายแรงและปานกลางมีระยะเวลาในการตกค้างสั้น ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะจะมีลักษณะคล้ายกับสารพิษในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต แต่ร่างกายของคนที่ได้รับสารพิษกลุ่มนี้จะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าการเกิดพิษจากกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตเนื่องจากยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดคลีนเอสเทอเรสแบบไม่ถาวร (Reversibie) อาการรุนแรงจึงน้อยกว่าและระยะเวลาน้อยกว่าจึงหายเองได้

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อออก ม่านตาหด กล้ามเนื้อสั่น กระตุก

4) กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพราะมีการสลายตัวได้เร็ว มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น สามารถใช้ทดแทนสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตแต่จะมีระยะการดื้อยาได้เร็วและมีราคาแพงกว่าสารพิษในกลุ่มอื่นๆ พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อการทำงานของระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงสลบได้ทันทีและตายได้ในที่สุด แต่มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น

อาการพิษเฉียบพลัน ผิวหนังคน บวมแดง พุพอง ไอ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ชาที่ริมฝีปาก กล้ามเนื้อกระตุก

เนื่องจากสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะตกค้างในต้นพืช ดังนั้นหลังจากการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ก่อนที่ผู้ผลิตจะทำการเก็บเกี่ยวจะต้องมีการทิ้งระยะเวลาเพื่อให้สารกำจัดศัตรูพืชสลายตัวเสียก่อน

มาตรการสุขอนามัย
ความสำคัญ เนื่องจากการำธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วการบังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัย ซึ่งตามข้อตกลงทางการค้าเรื่องสินค้าเกษตรได้ยอมรับให้สินค้าเกษตรต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวิตถุประสงค์ให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยฯ ความตกลงนี้ได้อนุญาตให้ประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่จำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพขอมนุษย์ พืชและสัตว์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกที่ดำเนินการด้วยเงื่อนไขอย่างเดียวกัน รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการสุขอนามันตามมาตาฐาน แนวทางและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกยังสามารถกำหนดระดับการคุ้มครองสุขอนามัยที่สูงกว่ามาตาฐานสากลได้ หากมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน ความตกลงนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบและขอบเขตของความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระดับความเหมาะสมในการคุ้มครองด้านสุขอนามัย ประเทศสมาชิกต้องยอมรับมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศสมาชิกอื่นๆ แม้ว่ามาตรการจะแตกต่างกัน ถ้าหากมาตรการนั้นมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขอนามัยในระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศผู้นำเข้าและสามารถที่จะตรวจสอบได้โดยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน กฎระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

การนำเข้าผักสดจากต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยของประชาชนในประเทศและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนี้

1) ประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าผักสด ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 จนถึง 2537 พืชและผลผลิตของพืชทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจโรคแบะแมลงศัตรูพืชจาก เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทางและกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผักด้วย

นอกจากนี้ผลไม้สามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรัมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างท่ติมากับผลไม้ด้วย ยกเว้นพืชตระกูลส้มทุกชนิด เป็นสิ่งตองห้ามนำเข้ามาในประเทศในกรณีที่มีวัตถุประสงศ์ในการนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัยต้องทำหนังสือขออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

2) ประเทศญี่ปุ่น มีกฎระเบียบตาม Introduction to Standards Certification and other Regu lations in Japan ที่เกี่ยวกับการนำเข้าผัก/ผลไม้สด ดังนี้

(1) Plant Protection Law จะกำหนดเงื่อนไขการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย

-Import-prohibited items ประกาศห้ามนำเข้าผลไม้บางชนิดจากแหล่งผลิตใดแหล่งผลิตหนึ่งหรือทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคและแมลง (Fruits flies) โดยจะอนุญาตให้นำเข้าได้ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสามารถกำจัดโรคและแมลงได้ทั้งหมด หรืออนุญาตให้นำเข้าได้ในรูปของผลไม้แช่แข็ง ณ ระดับอุณภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า-17.8 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์

-Conditionally permitted items รัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศชนิดและพันธุ์ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงตามที่รัฐบาบญี่ปุ่นเห็นชอบ มีเอกสารรับรองปลอดศัตรูพืชจากรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก การบรรจุหีบห่อและการขนส่งเป็นไปตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด

(2) Food Sanitation Law อาหารทุกชนิดรวมทั้งผลไม้ที่นำเข้ามาในประเทศต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและต้องมีใบรับรองการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลประเทศผู้ส่งออกหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้จากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นด้วย

3) ประเทศในสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบขอบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ในผักและผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีจากพืชบางชนิดนั้น สหภาพยุโรปออก Council Directive 90/642/EEC ในปี 1990 เพื่อควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างทั้งภายในและผิวนอกของผลิตภัณฑ์จากพืชรวมทั้งผักและผลไม้เป็นการกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี โดยยังไม่ได้กำหนดของสารเคมีและปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

ในปี 1993 และ 1994 ได้ออก Council Directive 93/58/EEC และ Council Directive 94/30/EC เพื่อปรับปรุง Council Directive 90/642/EEC โดยกำหนดรายชื่อสารเคมี และปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

4) ประเทศแคนาดา กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของแคนาดาคือผักและผลไม้สดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบสารเคมีปราบศัตรูพืช สารเคมีป้องกันและกำจักแมลงและเชื้อราจาก Food and Drug Inspection ของกระทรวงสาธารณสุขแคนาดาและต้องตรวจสอบเกี่ยวกับแมลงและโรคพืชจากกระทรวงเกษตรแคนาดา นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังคำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคผักและผลไม้สดโดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ดังนี้

(1) จะต้องไม่มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารประกอบอื่นในผักและผลไม้ที่บริโภคดิบ ยกเว้นองุ่น

(2) ห้ามนำเข้าผลและผลไม้ที่อาบรังสี ยกเว้นมันฝรั่งและหอมใหญ่

5) ประเทศออสเตรเลีย ห้ามนำเข้าผลไม้สดจากไทยทุกชนิดนอกจากผลไม้แช่แข็งโดยผู้ส่งออกผลไม้ไปยังประเทศออสเตรเลียต้องขอคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียว่าผลไม้ชนิดใดได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้

6) ประเทศสิงคโปร์ กำหนดปริมาณการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการถนอมผลไม้ในระเบียบว่าด้วยอาหารปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ.2531) โดยไม่อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเนื้อลำไยแต่ยอมให้ตกค้างอยู่บนเปลือกได้ไม่เกิน 350 ppm

มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากการผลิตจะต้องคำนึงถึงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรตามที่กล่าวมาแล้ว ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจกับการอนุรักษ์มากขึ้น อาทิเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) ปัญหามลภาวะและของเสีย (Pollution and waste) เป็นต้น แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบ อาทิ การวางกฎระเบียบให้ปฏิบัติ การให้การศึกษาและข้อมูล การทำข้อตกลงพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ และบางครั้งใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและการค้ามาควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วย

การตรวจสอการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยในประเทศไทย

ความสำคัญ สาเหตุที่ต้องมีการตรวจสอบการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยก็เพราะในปัจจุบัน มีการแข่งขันทางการค้ากันมาก ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะประเทศที่นำเข้าจะใช้มาตรการและการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวด ประกอบกับมีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Orhanization หรือ WTO) ซึ่งมีการใช้มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืข (Sanitary and Phytosanitary Measures,SPS)

สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น 1) มีการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practice, GAP) 2) มีระบบวิเคราะห์หาอันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องทำการควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point System, HACCP) ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอันเป็นระบบมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่ประเทศทั่วโลกยอมรับ 3) หลักการประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) 4) การผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และ 5) ในขณะนี้สหภาพยุโรปได้เรื่มใช้กฎและระเบียบเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพด้านพืช หรือ PQMS (Plant Quality Manahement System) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลสำหรับการผลิตพืชทั่วไปอันเป็นระบบที่ประยุกต์มาจาก QA, GMP, HACCP, GAP ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับ 1) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิต 2) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแยกบรรจุ 3) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับ (1)สิ่งแวดล้อม (2)ความปลอดภัยในการบริโภค และ (3) จริ

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับค่า pH ของสารละลายที่ใช้ปลูกผักใบ

การปลูกพืชในระบบ Hydroponics นั้น ค่าที่เราต้องตรวจวัดกันแทบทุกวัน คือ ค่า Ph ของสารละลายในระบบ ซึ่งค่านี้ควรจะอยู่ในช่วงใด จึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับพืช จะเป็นเพราะสาเหตุใด จึงควรที่จะรักษาระดับนี้ไว้ให้อยู่ในระดับที่คงที่ ตลอดเวลา และมีอะไรอีกที่เราควรรู้เกี่ยวกับค่านี้บ้าง
pH สารละลายธาตุอาหารเข้มข้น A และ B ควรให้อยู่ในช่วง 4 - 6 และเมื่อเจือจางปุ๋ยลงในระบบแล้ว ควรรักษาระดับค่า pH ให้อยู่ในช่วง 5.5 – 6.5 ในกรณีหากค่า pH ของสารละลายสูงกว่า 6 การละลายของอนุมูลคาร์บอเนตและฟอสเฟตจะลดลง โดยจะตกตะกอนกับแคลเซียมและแมกนีเซียม ทำให้พืชใช้ประโยชน์ธาตุทั้งสองได้น้อยลง นอกจากนี้ตะกอนที่เกิดขึ้นจะอุดตันหัวน้ำหยด ระบบท่อ และเครื่องกรองน้ำ และยังไปหุ้มอีเลกโทรดของเครื่องวัด pH และ เครื่องวัด EC อีกด้วย นอกจากนี้หากค่า pH ที่สูงยังมีผลให้เหล็กคีเลต อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้อีกด้วย และถ้า pH สูงกว่า 7 ติดต่อกันนาน 2-3 วัน จะทำให้การดูดใช้ ฟอสฟอรัส เหล็ก และแมงกานีส ผิดปกติไป


แต่หากค่า pH ของสารละลายต่ำกว่า 4 จะเป็นอันตรายต่อรากพืช
เมื่อเราเตรียมสารละลายลงในระบบใหม่ๆ ค่า pH ตั้งต้นจะเท่ากับ 6 แต่เมื่อเวลาผ่านไป pH จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการปรับค่า pH ให้เท่ากับ 6 อยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (vegetative growth) พืชจะมีการดูดใช้ ไนเตรทอิออน (NO3-) เป็นส่วนใหญ่ (ดูดใช้ประจุลบมากกว่าบวก) จึงมีการปล่อยอนุมูลไบคาร์บอเนต (HCO3-) ออกมาในปริมาณเท่ากัน ทำให้ pH ของสารละลายเพิ่มขึ้น ในการปรับค่า pH ให้ต่ำลง เรานิยมใช้ กรดไนตริก หรือกรดฟอสฟอริก เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกรดทั้ง 2 ตัวนี้จะให้ธาตุ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เพิ่มกับสารละลายไปในตัวด้วย ในทางกลับกัน การเพิ่ม pH ของสารละลายทำได้โดยเติม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต ลงในสารละลาย

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

ป้องกัน Phythium โดยการเพิ่มธาตุอาหาร



การป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า สาเหตุที่มาจาก เชื้อราพิเที่ยมนั้น นอกจากการควบคุมอุณหภูมิของสารละลายไม่ให้เกิน 30 องศา C แล้ว ยังสามารถป้องกันได้ โดยการให้ธาตุอาหารบางตัวเพิ่ม เพื่อช่วยควบคุมการเจริญของโรคได้ด้วยค่ะ
Phythium sp. เป็นเชื้อสาเหตุของโรคเน่าที่สํ าคัญที่สุดในการปลูกพืชในสารละลาย จากการทดลองพบว่า พืชที่ขาด Mn จะอ่อนแอต่อโรคนี้ นอกจากนี้ copper จะจํากัดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์
แต่ในความเข้มข้นสูง จะทําอันตรายต่อพืช
ส่วน manganese และ zinc สามารถควบคุมการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์และมีความเป็นพิษต่อพืชตํ่ า
ดังนั้นควรเพิ่มปริมาณของ manganese, zinc, และcopper ให้สูงกว่าปริมาณขั้นตํ่าที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อย
ที่มา : รศ. นิพนธ์ ไชยมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช

ค่า EC สูงหรือ ต่ำ อย่างไร มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช จะไปในทิศทางใด และให้ผลผลิตที่สูงต่ำกว่ากันอย่างไร ต้องศึกษาค่ะ
โดยทั่วไปในระบบ Hydroponics ความเข้มข้นของสารละลาย จะวัดเป็นค่า EC ( Electrical Conductivity ) หน่วยเป็น mS/cm ซึ่งค่าจะอยู่ในช่วง 1 - 4 mS/cm การตอบสนองของผลผลิต ต่อค่า EC คือ เมื่อค่า EC ต่ำ ผลผลิตก็จะต่ำ และเมื่อเพิ่มค่า EC ถึงระดับหนึ่ง จะได้ค่าผลผลิตสูงสุด และเมื่อเพิ่มค่า EC ต่อไป ผลผลิตจะไม่เพิ่ม หลังจากนั้น ถ้าเพิ่มค่า EC ต่อไปอีก ผลผลิตจะลดลง ค่า EC ในที่นี้คือ ค่า EC บริเวณรากพืช ซึ่งอาจแตกต่างจาก ค่า EC ของสารละลายที่เตรียม
เมื่อค่า EC ต่ำ ( < 1.0 mS/cm ) จะทำให้ผลผลิตที่ได้ อ่อนนุ่ม ซึ่งจะดีในการปลูกผักสลัด แต่ในมะเขือเทศ และพืชผักชนิดอื่นที่เก็บผลสด คุณภาพของผลจะไม่ดี เนื่องจากผลอ่อนนุ่มเกินไป และรสชาติจะไม่ดีด้วย และอายุหลังเก็บเกี่ยวทั้งผัก และทั้งไม้ดอก ไม้ประดับจะสั้น และเมื่อเพิ่มค่า EC ให้สูงขึ้น มีผลให้พืชมีความแข็งแรงมากขึ้น มีการเจริญเติบโตเร็วขึ้น เพิ่มน้ำหนักใบ ผลและดอก ทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้น เช่น มะเขือเทศ จะมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น ปริมาณธาตุอาหาร และกรดในผลเพิ่มขึ้น อายุหลังเก็บเกี่ยวนานขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมให้ค่า EC สูง จะยากกว่า การปลูกใน EC ต่ำ เนื่องจากในมะเขือเทศ อาจเกิดอาการผลเน่าที่ปลาย ( Blossom – end rot ) ส่วนผักสลัด อาจเกิดอาการยอดไหม้ ( Tip burn )

ที่มา : รศ.ดร. อิทธิสุนทร นันทกิจ

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

การจัดการผักปลอดสารพิษ

Hydroponics คืออะไร ?
Hydroponics หรือที่ในภาษาไทยอ่านว่า ไฮโดรโพนิกส์ หรือ ไฮโดรโปนิกส์ (ไม่ใช่ ไฮโดรโฟนิกส์ อย่างที่หลายคนเรียกกัน) คำว่า Hydroponics มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ Hydro แปลว่า น้ำ Ponos แปลว่า งาน ซึ่งเมื่อนำ 2 คำมารวมกัน จะมีความหมายว่า การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ เมื่อนำมาใช้กับการปลูกพืช จะหมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง
ความสำคัญของ "Hydroponics"
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ปลูกพืชด้วยดินตามปกติก็สามารถปลูกได้ ทำไมเราจึงต้องเปลี่ยนมาใช้วิธี Hydroponics ในปัจจุบันปัญหาด้านการเกษตรนั้นมักพบว่าดินเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากการใช้ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เกิดสารพิษตกค้างตลอดการสะสมโรคและแมลง ทำให้การปรับปรุงดินที่เสื่อมคุณภาพให้สามารถกลับมาปลูกพืชได้นั้น ค่อนข้างยุ่งยาก หรือเสียค่าใช้จ่ายสูง แนวโน้มของผลผลิตที่มีคุณภาพก็ลดลง การปลูกพืชด้วยระบบ Hydroponics จึงเป็นทางเลือกที่จะทำให้เราสามารถปลูกพืชได้ผลผลิตตลอดทั้งปีและมีคุณภาพโดยไม่ต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชที่มากับดินอีกด้วย นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยระบบ Hydroponics ยังใช้ระยะเวลาในการปลูกพืช เร็วกว่าการปลูกด้วยดิน เนื่องจาก รากพืชสามารถรับสารอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำได้โดยตรง แต่การปลูกพืชด้วยดินนั้น เราจะใส่สารอาหารลงในดิน พืชก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้หมดและยังสูญเสียพลังงานในการดูดสารอาหารอีกด้วย
ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในส่วนของข้อดีนั้น จะโดดเด่นในเรื่อง การจัดการด้านต่างๆ ประสิทธิภาพและปริมาณที่สามารถผลิตได้มากกว่าในดิน เมื่อเทียบพื้นที่การผลิตที่เท่ากัน สำหรับข้อเสียนั้น จุดที่สำคัญน่าจะเป็นในเรื่องการควบคุมดูแลเอาใจใส่ที่ต้องสม่ำเสมอ มากกว่า การลงทุนในเบื้องต้น บางคนบอกว่าการลงทุนค่อนข้างสูง แต่ถ้าบริหารจัดการให้ดีก็สามารถคืนทุนได้เร็ว
ข้อดี
1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี ดินเสื่อมสภาพ
2. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช
3. สามารถปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่องตลอดปี ในพื้นที่เดิม เนื่องจากไม่ต้องเตรียมดิน และกำจัดวัชพืช
4. สามารถตัดปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน ทำให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่เดียวกันได้ตลอดปีถึงแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน
5. เป็นระบบที่มีการใช้น้ำ และธาตุอาหารพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ
6. เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้แรงงาน
7. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องแน่นอน และรวดเร็วโดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด - ด่าง อุณหภูมิความเข้มข้นของออกซิเจน ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก
8. พืชเจริญเติบโตเร็วกว่าการปลูกในดิน ผลผลิตรวมต่อปี จะมากกว่าการปลูกในดิน เมือเทียบพื้นที่การผลิตที่เท่ากัน
9. ผลผลิตที่ได้สะอาด และมีความสม่ำเสมอ
ข้อเสีย
1. เป็นระบบที่มีราคาแพง เนื่องจากประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆมากมาย ต้นทุนการผลิตเริ่มต้นอาจจะสูง
2.จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์มากพอสมควร ในการควบคุมดูแล
3. ต้องการการควบคุมดูแลอย่างสม่ำเสมอ

การเลือกพื้นที่สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน มีข้อได้เปรียบในเรื่อง ดินที่ไม่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งช่วยลดปัญหาเรื่อง การเตรียมดิน ศัตรูพืชในดิน วัชพืช ต่างๆ ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานด้วย สำหรับการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้น ควรต้องพิจารณาเรื่องพื้นที่ และสภาพแวดล้อมที่จะใช้ในการผลิตด้วย เพราะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยทั่วไปการผลิตพืชผักในโรงเรือน ควรพิจารณาในการเลือกพื้นที่ดังนี้
ต้องมีน้ำที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ โดยทั่วไปสำหรับพื้นที่การผลิต 1 ไร่ ซึ่ง ผลิตด้วยระบบการปลูกพืชแบบ NFT ความต้องการใช้น้ำจะอยู่ที่ 4,000-7,000 ลิตร ต่อ วัน และหากน้ำที่จะนำมาใช้ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีควรติดตั้งระบบกรองน้ำ เพื่อปรับปรุงให้น้ำมีคุณภาพที่เหมาะสมกับการผลิตด้วย
มีแสงแดดส่องทั่วถึง ในพื้นที่จากทิศตะวันออก-ตะวันตก โดยถ้าในพื้นที่มีแสงแดด น้อยควรปลูกพืชขวางตะวันเพื่อให้พืชผักสามารถรับแสงแดดเพื่อการเจริญเติบโตได้เต็มที่ และในพื้นที่ควรมีแสงแดดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
ควรเป็นพื้นที่ราบเรียบ พื้นที่สำหรับการผลิตควรเป็นพื้นที่ราบเรียบหรือสามารถปรับระดับพื้นที่ตามที่ ต้องการได้ง่าย
เป็นพื้นที่ที่ดินมีการระบายน้ำดี เป็นพื้นที่ที่ดินมีการระบายน้ำดีพอสมควร โดยดินต้องมีความสามารถในการซึมน้ำลงได้ในอัตราอย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้วต่อชั่วโมง
มีไฟฟ้าเข้าถึงในพื้นที่ มีการถ่ายเทอากาศดี และควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีลมแรง อยู่ใกล้ที่พักพอสมควรเพื่อสะดวกในการควบคุมการผลิตอยู่เสมอ อยู่ใกล้แหล่งชุมชน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตพืชชนิดอื่นๆ อยู่ห่างไกลจากแหล่งผลิตพืชชนิดอื่นๆพอสมควร เช่นแหล่งนาข้าว หรือแปลงปลูกพืชอื่นที่มีบริเวณกว้าง ทั้งนี้เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคและแมลง เข้าสู่พื้นที่การผลิต ยกตัวอย่างเช่น นาข้าวในกรณีที่มีการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหรือมีการเผาทำลายซากพืช จะทำให้แมลงหนีและมีโอกาสอพยพเพื่อหาแหล่งอาหารใหม่ในพื้นที่ใกล้เคียง หรือเข้าสู่พื้นที่การผลิตของเราได้ง่ายขึ้น

น้ำกับการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์
น้ำนั้นมีความสำคัญมากในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นในระบบ NFT, DFT, Aeroponics การปลูกในวัสดุปลูก หรือระบบอื่นๆที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายธาตุอาหาร ซึ่งรากพืชต้องดูดไปใช้ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าน้ำมีคุณภาพดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในน้ำก็จะละลายได้หมด พืชก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปก็จะละลายไม่หมด เกิดการตกตะกอน พืชก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้พืชเกิดอาการขาดธาตุอาหาร เช่นใบเหลือง แคระแกร็น เป็นต้น น้ำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเราควรพิจารณาเป็นลำดับแรกๆ ก่อนคิดลงทุนเพื่อปลูกเป็นระบบการค้า คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ว ควรใช้น้ำอะไรในการปลูกดี ซึ่งแหล่งของน้ำที่จะนำมาใช้นั้นมีหลายประเภท ได้แก่
น้ำฝน จัดว่าเป็นน้ำที่ดีที่สุด มีค่า EC ต่ำ สิ่งเจือปนน้อย ที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่เก็บได้จะมีค่า pH ต่ำลง ดังนั้นถ้าจะใช้พื้นที่ปลูกอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ควรพิจารณาถึงส่วนนี้ด้วย รวมถึงอุปกรณ์ที่จะกักเก็บน้ำฝน ควรปิดมิดชิดพอสมควรเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่างๆ
น้ำประปา จัดว่าเป็นน้ำที่หาได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงมากนัก โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพ น้ำประปามีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่สำหรับในเขตต่างจังหวัด น้ำบางที่ก็มีคุณภาพดี บางที่คุณภาพไม่ดี ควรลองตรวจสอบค่าก่อนนำไปใช้
น้ำตก น้ำจากเขื่อน น้ำในแม่น้ำ น้ำคลอง แหล่งน้ำเหล่านี้ มักมีสารแขวนลอยสูง และคุณสมบัติของน้ำไม่คงที่ตลอดปี รวมถึงอาจมีเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำ จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการนำมาใช้ แต่อาจตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนก็ได้เพื่อความไม่ประมาท
น้ำบาดาล จัดเป็นแหล่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำเช่นกัน การจะนำน้ำบาดาลมาใช้นั้นควรดูว่าในพื้นที่ของเรา มีน้ำหรือไม่ และสามารถขุดเจาะบาดาลได้หรือไม่ ในบางพื้นที่ไม่อนุญาติให้ขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ แล้ว เพราะผิดกฎหมาย จึงควรตรวจสอบกับหน่วยงานของรัฐก่อน สำหรับคุณภาพน้ำบาดาลในแต่ละที่นั้นบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ต้องเก็บตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ แต่เราอาจสอบถามได้จากบริษัทที่รับขุดเจาะบาดาล หรือเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบาดาลในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงมาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน บางคนบอกว่าน้ำบาดาลมักมีสิ่งเจือปนสูงมาก โดยเฉพาะ สนิมเหล็ก หรือ โซเดียม ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช จริงๆแล้วเป็นเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งหมด เราเคยพบว่าน้ำบาดาลบางแห่งมีคุณภาพดีมาก ดีกว่าน้ำประปา ก็มี บางแห่งคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำฝน ก็มี ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ดังนั้นถ้าจะเลือกใช้น้ำบาดาลควรตรวจอบคุณภาพก่อนจะดีที่สุด
EC คืออะไร และเลือกใช้อย่างไรดี ?
EC คืออะไร EC ย่อมาจากคำว่า Electric conductivity หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของเกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำ แต่การวัดค่า EC นั้นเป็นเพียงการวัดค่าโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้ เช่น ถ้านำธาตุอาหาร A หรือ Bมาละลายในน้ำ เกลือของธาตุต่างๆ เช่น N,P,K ฯลฯ ก็จะละลายรวมกันอยู่ โดยที่เราไม่สามารถบอกได้ว่า มีธาตุอาหารแต่ละตัวอยู่เท่าไหร่ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ N+P+K ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2.0 mS/cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี N,P,K อยู่อย่างละเท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2.0mS/cm ซึ่งค่า EC ที่วัดได้นี้จะนำไปใช้กับพืชที่เราจะทำการปลูก และควรรักษาระดับค่า EC ให้คงที่ และปรับค่าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ในสารละลายมีธาตุอาหารที่พืชสามารถจะนำไปใช้ได้ตลอดเวลาและพอเพียง โดยส่วนมากค่าที่ใช้วัดสำหรับการปลูกพืชจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0.5-5.0 mS/cm โดยพืชแต่ละชนิดก็จะใช้ค่า EC ที่แตกต่างกันออกไป เครื่อง EC Meter เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากและควรมีไว้ใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ และตรวจสอบความถูกต้องของการละลายธาตุอาหารในระบบน้ำที่ใช้ในการปลูก เครื่อง EC Meter นั้นมีหน่วยการวัดค่าหลายหน่วยดังนั้น การเลือกซื้อเครื่องมือต้องดูให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ โดยทั่วไประบบไฮโดรโพนิกส์ ควรเลือกเครื่องมือที่วัดได้ในช่วง 0 – 10 mS/cm ซึ่งน่าจะเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถเลือกช่วงการวัดได้หลายช่วงในเครื่องเดียว เช่น เลือกได้จากช่วง 0 – 10 mS/cm, 0 - 20 mS/cm , 0-100 mS/cm ซึ่งราคาจะแพงและเป็นช่วงการวัดที่เราไม่ได้ใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ 10-100 mS/cm นอกจากนี้ควรสอบถามจากผู้ขายถึงวิธีการใช้งานและการดูแลรักษา และสิ่งที่สำคัญในการใช้เครื่องมือคือต้องมีการตรวจสอบค่าที่วัดได้จากเครื่องมือว่าถูกต้องหรือไม่อยู่เสมอๆ โดยใช้เครื่องมือวัดวัดค่าสารละลายที่เราทราบค่า EC ที่แน่นอนและอ่านค่าจากเครื่องมือถ้าค่าไม่ตรงกันต้องทำการตั้งค่าที่เครื่องมือให้ถูกต้องซึ่งวิธีการปรับค่าจะมีแนบมากับเครื่องมือที่ซื้อมา หรือสามารถขอจากผู้ขายได้โดยตรง
วิธีการปลูกพืชระบบ NFT ( Nutrient Film Technique)
สิ่งจำเป็นในการเพาะเมล็ด เมล็ดพันธุ์ผักสลัดทุกชนิดที่เรานำมาเพาะ ต้องการสิ่งสำคัญ 3 อย่าง สำหรับการงอกออกมาเป็นต้นกล้า ซึ่งก็คือ น้ำ, อากาศ หรือ ออกซิเจน และ แสงแดดครับ โดยน้ำและอากาศเป็นปัจจัยพื้นฐานอยู่แล้ว สำหรับแสงนั้น ในช่วง 2-3วันแรก เราให้แสงแบบรำไรก็พอ(ครับ) ไม่จำเป็นต้องให้แสงแดดจัด เพราะอาจจะทำให้อุณหภูมิสูง ส่งผลให้อัตราการงอก ลดลง ซึ่งโดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเพาะเมล็ดจะอยู่ในช่วง 20-25 องศาเซลเซียส และหลายๆ ท่านมีคำถามตามมาว่า แล้วอุณหภูมิของบ้านเราค่อนข้างร้อน จะทำอย่างไร เพราะอากาศร้อนเพาะเมล็ดแล้วไม่ค่อยงอก หรืองอกน้อยมาก วิธีที่จะช่วยได้คือ ให้เพาะเมล็ดในช่วงเย็น และเลือกใช้เมล็ดแบบเคลือบ จะช่วยได้มาก แต่ถ้าลองใช้วิธีนี้แล้วเมล็ดยังไม่งอกอีก เราคงต้องทบทวนถึงวิธีการเพาะว่า ท่านทำถูกขั้นตอนหรือไม่ เมล็ดพันธุ์ที่นำมาใช้ หมดอายุ หรืออาจจัดเก็บไม่ถูกวิธี ถ้าเจอปัญหาตรงไหนก็แก้ให้ตรงจุด เราเชื่อว่าเมล็ดจะงอกได้แน่นอน
วิธีการเพาะเมล็ด
1. ใส่วัสดุปลูก (Perlite) ลงในถ้วยเพาะประมาณ 3/4 ของถ้วย วางเมล็ดพันธุ์ลงบนวัสดุปลูก กลบเมล็ดเล็กน้อย ใช้กระบอกฉีดน้ำ พ่นน้ำให้ชุ่มเติมน้ำที่ถาดรองเพาะให้สูงประมาณ 0.5 ซม. (ใช้น้ำธรรมดาที่ยังไม่ได้เติมสารละลายธาตุอาหาร)
2. หมั่นคอยตรวจดูระดับน้ำในถาดรองเพาะ ต้องให้มีน้ำสูง 0.5 ซ.ม.เสมอ
3. ระยะเวลา 3 วันแรก ให้เก็บถาดเพาะไว้ในที่ร่ม หลังจากนั้นนำออกมารับแสงแดดรำไร และเมื่อสังเกตว่ามีมากกว่า 3 - 4 ใบ จึงจะนำไปรับแสงแดดได้
4. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 1 สัปดาห์ เติมน้ำที่ผสมธาตุอาหารแล้วลงไปให้สูง 1 ซ.ม. หมั่นตรวจสอบระดับน้ำให้มีอยู่เสมอ
5. เมื่อต้นกล้าอายุครบ 2 สัปดาห์ สามารถย้ายลงรางปลูกได
วิธีการปลูก
1. หลังจากได้ต้นกล้าที่เพาะไว้แล้ว ให้นำต้นกล้าย้ายลงรางปลูกที่ได้เตรียมไว้แล้ว ล้างถังที่จะใส่สารละลายธาตุอาหารให้สะอาด เติมน้ำสะอาดประมาณ 3/4 ของถัง
2. ใส่สารละลายธาตุอาหารลงในน้ำสะอาดที่ได้เตรียมไว้ โดยให้ใส่ธาตุอาหาร Aและ B ในอัตราส่วนอย่างละ 3 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ต่อไฟฟ้าเพื่อเดินเครื่องปั๊มน้ำให้น้ำไหลผ่านรางปลูก พร้อมกับทำการตรวจสอบระบบว่ามีที่ชำรุดรั่วไหลหรือไม่
4. ต้องเปลี่ยนน้ำทุก 10 วัน โดยถังน้ำควรมีฝาปิดเพื่อรักษาความสะอาดของน้ำ และป้องกันฝนที่จะทำให้สารละลายธาตุอาหารเจือจาง
5. ประมาณ 6 สัปดาห์ (40 – 45 วัน) ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับผักไฮโดรโปนิกส์

เกี่ยวกับไฮโดรโปนิกส์
Hydroponics หรือที่ในภาษาไทยอ่านว่า ไฮ-โดร-โพ-นิกส์ หรือไฮ-โดร-โป-นิกส์ ไม่ใช่ ไฮโดรโฟนิกส์ อย่างที่หลายคนเรียกกัน คำว่า Hydroponics มีรากศัพท์มาจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ Hydro แปลว่า น้ำ Ponos แปลว่า งาน ซึ่งเมื่อนำ 2 คำมารวมกัน จะมีความหมายว่า การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ เมื่อนำมาใช้กับการปลูกพืช จะหมายถึง การปลูกพืชลงบนสารละลายธาตุอาหารพืช โดยให้รากพืชสัมผัสกับสารละลายโดยตรง
อ่านต่อ

เทคนิคในการปลูก
การปลูกพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์ หลายๆท่านคงพอรู้จักกันบ้างแล้ว จุดเด่นของระบบการปลูกแบบนี้มีทั้งในด้าน มาตรฐาน, ปริมาณ และคุณภาพ ของผลลิต ในส่วนของมาตรฐานนั้นดีแน่นอนเนื่องจากเราสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่ดีไปปลูก ได้ ด้านปริมาณเราก็สามารถผลิตได้มากเนื่องจากใช้เวลาปลูกน้อยกว่าการปลูกในดิน จำนวนรอบการผลิตรวมต่อปีจะมากขึ้นถ้าเทียบในระยะเวลาที่เท่ากัน
อ่านต่อ

โภชนาการ
อาหารกับสุขภาพสำคัญอย่างไร?
องค์ประกอบของการมีสุขภาพที่ดี คือ 5 อ.คือ 1. อาหารดี 2. อากาศดี 3. ออกกำลังกายดี 4. อารมณ์ดี 5. อุจจาระดี อาหารนับเป็นปัจจัยแรกและปัจจัยหลักของการดำรงชีวิตมนุษย์ เริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา วัยแรกเกิด วัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน วัยสูงอาหาร โภชนาการที่ดีมีความสำคัญกับมนุษย์ทุกช่วงวัย
อ่านต่อ

เมนูเพื่อสุขภาพ

น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลืองนับว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นน้ำมันที่คุณภาพดี มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง(ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายต้องการ ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้) ซึ่งช่วยลดคอเสเตอรอลไม่ดีได้ ยิ่งกว่านั้นในเมล็ดถั่วเหลืองยังมีโปรตีนสูง นิยมใช้ในการปรุงอาหาร ทำน้ำมันสกัด และเนยเทียม