วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการปลูกผัก hydroponics

ในการปลูกไม่ใช้ดิน อาจจำแนกได้หลายรูปแบบ โดยจำแนกได้ดังนี้

1. การปลูกในสารละลาย (Water culture)
ซึ่งเรียกว่าการปลูกแบบ Hydroponics โดยแบบนี้สามารถจำแนกได้ 2 รูปแบบ คือ

1.1 แบบน้ำไหลเวียน
โดยอาจไหลผ่านรางปลูกแบบฟิล์มบางเรียกว่า Nutrient film Technique (NFT) และน้ำลึกประมาณ ( ประมาณ 5 – 10 ซม.) ไหลผ่านรางปลูก เรียกว่า Deep Flow Technique (DFT) ซึ่ง
ทั้ง 2 แบบ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็นรูปการค้ามากขึ้นเนื่องจากมีการจัดการที่ไม่ยุ่งยากและสามารถตอบสนองในการเจริญเติบโตของพืชค่อนข้างมาก

1.2 แบบน้ำซึมเข้าสู่ระบบรากพืช (passive system)
โดยอาจทำได้โดยปลูกพืชแล้วมีส่วนที่เป็นท่อนำสารละลายปุ๋ยให้ได้สัมผัสกับรากพืช เช่น
ปลูกในภาชนะ 2 ชั้น โดยมีส่วนขังน้ำด้านล่างและด้านบน มีวัสดุปลูกมีส่วนดูดน้ำขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า
แบบ Capillary system อีกแบบคือ ให้รากพืชสัมผัสกับรากโดยตรงคล้ายกับแบบ Deep flow Technique แตกต่างตรงที่น้ำไม่หมุนเวียนแต่จำเป็นต้องเติมปริมาณก๊าซออกซิเจนลงไปละลายกับปุ๋ย
ซึ่งเรียกแบบนี้ว่า Float root system แบบนี้จะนิยมใช้ในการศึกษาพืชปลูกในสารละลายในช่วงแรกแต่กรณีปลูกทางการค้าจะประยุกต์ให้มีการไหลเวียนของน้ำเช่นเดียวกับแบบ NFT

แบบ Float root system
2. การปลูกโดยพ่นสารละลายใต้โคนรากพืช (Aeroponics)
โดยมีการควบคุมให้รากพืชสัมผัสสารละลายต่อเนื่องตลอดที่ต้นพืชต้องการ การปลูกพืชโดยพ่นสารละลายในอากาศทำให้ต้นพืชมีการเติบโตค่อนข้างดี แต่มีปัญหาอาจทำให้รากพืชแห้ง และยังส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตได้ถ้าหากไม่ศึกษาสภาพแวดล้อมดีพอ การปลูกแบบ Aeroponics อาจนำมาประยุกต์ในการขยายพันธุ์พืชและใช้ในการศึกษาทางสรีรวิทยาของต้นพืชในสภาพแวดล้อม ของแต่ละท้องที่

3. การปลูกโดยใช้วัสดุปลูก (Substrate culture)
ในการปลูกแบบนี้สามารถปลูกได้หลายรูปแบบ โดยพิจารณาจากวัสดุที่ใช้ปลูก ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
3.1 วัสดุปลูกที่เป็นอินทรีย์ (Organic subsstrate) เป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ เช่น ขี้เลื่อย
แกลบ ถ่าน เปลือกไม้ ฮิวมัส ปุ๋ยหมักต่างๆ
3.2 วัสดุปลูกทีเป็นอนินทรีย์ (Inorganic substrate) โดยใช้วัสดุที่เป็นพวก ทราย กรวด
ฟองน้ำ การปลูกโดยไม่ใช้ดินแบบใช้วัสดุปลูกจะปฏิบัติหลักการเดียวกับการให้นำปุ๋ยระบบน้ำแต่ต่างกันตรงที่ใช้แล้วจะให้ไหลกลับมาสู่ถังเก็บและปรับสภาพให้เหมาะสมในการปลูกพืชต่อไป การปลูกแบบนี้เหมาะสมกับบ้านเราในการปลูกพืชหัวโดยเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับพวก กระเจียว ซ่อนกลิ่น ฝรั่ง
และผัก เช่น พริก มะเขือ

พืชที่จำเป็นต้องการให้ยึดโยงต้นให้แข็งแรง เช่น มะเขือเทศ แตงกวา หรือไม้ยืนต้น และไม่เหมาะในการปลูกในพื้นที่ที่มีลมพัดแรง ๆ

4. การปลูกแบบระบบ DFT (Deep Flow Technique)

การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช
ไหลผ่านรากพืชในราง / ท่อ / ถาดปลูกระดับลึก (Deep Flow Technique) DFT
วิธีนี้จะนำต้นกล้าที่ปลูกบนแผ่นโฟม มาปลูกบนวัสดุปลูกที่เป็น
3.ท่อปลูกแล้วให้สารละลายธาตุอาหารลึกกว่า 2 แบบแรกที่กล่าวมาปกติแล้วถาดปลูกมักทำด้วย
1.โฟมขึ้นรูปเป็นตัว (U) คล้ายกล่อง
2. ท่อทรงกลมเพื่อใส่สารละลายธาตุอาหารพืช มีฝาปิดเรียกว่า แผ่นปลูกเพื่อรองรับต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำ หรือ เพาะในถ้วยเพาะ
ถ้าเป็นรางปลูกที่ทำจากท่อ และใช้กล้าที่เพาะในถ้วยเพาะจะสามารถให้สารละลายทั้งแบบหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องหรือให้เป็นระยะ ๆ แบบท่วมขังในท่อลึกประมาณ 3 – 5 เซนติเมตร
(โดยน้ำจะท่วมรากพืชในถ้วยบางส่วน) ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูกได้อันเป็นเหตุผลของการปลูกระบบนี้
ถ้าเป็นถาดปลูกก็จะมีลักษณะคล้ายอ่าง สามารถใส่สารละลายธาตุอาหารได้ลึกประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร แล้วให้สารละลายธาตุอาหารพืชแบบหมุนเวียน
การปลูกโดยใช้ถาดปลูกจะเหมือนกับการปลูกพืชแบบลอยน้ำ (Float system) ซึ่งเป็นระบบที่ปลูกได้ดีในที่ที่มีแดดจัด การปลูกโดยวิธีนี้จะมีช่องว่างระหว่างแผ่นปลูกกับสารละลายธาตุอาหารพืช ประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร เพื่อให้รากพืชบางส่วนถูกอากาศและบางส่วนจุ่มแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารซึ่งช่องว่างนี้สารมารถปรับลดได้ตามอายุของพืช โดยมีหลักว่า
1.ให้รากส่วนบริเวณตรงโคนจากส่วนที่เป็นแผ่นปลูกในช่องว่างก่อนที่จะจุ่มลงในสารละลายธาตุอาหารได้สัมผัสกับอากาศเป็น “รากอาหาร (Oxygen roots หรือ Aero roots)” เพื่อดูดอากาศ
2.รากส่วนที่จุ่มอยู่ในสารละลายธาตุอาหารทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารขึ้นไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของพืชเป็น “รากอาหาร (Water nutrient roots)” ดังนั้น พืชจึงได้รับทั้งอากาศและอาหารเพื่อการเจริญเติบโต (ซึ่งมีส่วนของรากอากาศประมาณ 12 – 25 มิลลิเมตร)

4.1. ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในรางปลูก

Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบ
ระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืช
ในระดับลึก ในรางปลูกระบบนี้ จะนำต้นกล้าที่เพาะ
โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิพูไลท์มาปลูกในรางปลูก
ซึ่งรางปลูกทำจากท่อพีวีซีทรงกลมแล้วให้สารละลาย
ธาตุอาหารในระดับลึก

ระบบ DFT เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาจากระบบ NFT เพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะรากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในรางปลูก

4.2 ระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique แบบปลูกในถาดปลูก.
Deep Flow Technique Deep Flow Technique คือ การปลูกแบบระบบให้สารละลายธาตุอาหารพืชไหลผ่านรากพืชในระดับลึกในถาดปลูก ระบบนี้จะนำต้นกล้าที่เพาะในฟองน้ำบรรจุลงถ้วยปลูกมาปลูกบนแผ่นปลูกที่ทำด้วยโฟมที่วางอยู่บนถาดปลูก แล้วให้สารละลายธาตุอาหารในระดับลึก โดยมีวัสดุปรับระดับความลึกของสารละลาย
ระบบ DFT แบบนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเมื่อ “ระบบไฟฟ้าขัดข้อง” เพราะ
รากพืชยังสามารถใช้น้ำหรือสารละลายที่ท่วมขังอยู่ในถาดปลูก

คุณลักษณะของระบบปลูก
1. ระบบ DFT แบบปลูกในถาดปลูก มีขนาด 0.65 x1.35 เมตร ปลูกผักจีนได้ ถาดละ 60-100 ถ้วยปลูก ปลูกผักสลัดได้ถาดละ 20 ถ้วยปลูก ถาดปลูกผลิตด้วยพลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็นความหนาแน่นสูงด้วยระบบ INJECTION MOULDING พลาสติก ชนิด POLYPROPYLENE(PP) ได้รับการยอมรับ จาก Greenpeace ว่าเป็น plastic ที่สะอาดมากที่สุดชนิดหนึ่ง
2. ตัวชุดปลูกสามารถใช้แบบอเนกประสงค์คือ ใช้เป็นถาดเพาะกล้า ถาดอนุบาลกล้า
และถาดปลูก ที่สำคัญคือสามารถต่อเป็นชุดปลูกแบบเป็นแถวได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน
3. การเพาะและอนุบาลกล้า ทำการเพาะกล้าเมื่อเมล็ดงอกดีแล้วก็ย้ายลงสู่แปลงอนุบาล
ก่อนย้ายลงสู่แปลงปลูก
4. ตัวอย่างพืชที่ปลูก สามารถปลูกได้ทั้งผักฝรั่ง คือ ผักสลัด ผักไทย และผักจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น