วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่างการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในประเทศไทย

ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชเพื่อใช้เป็นการสาธิตแบบเกษตรท่องเที่ยว

1. สวนพืชไร้ดิน ของบริษัทซอยเลสเว็จจำกัด (Soilless Vet Co.,Ltd.) ดำเนินการโดยคุณจองชัยและคุณมุกดา เที่ยงธรรม ตั้งอยู่ที่ 8 ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โทร 0-3556-2200-1 โทรสาร 0-3556-2202 สำนักงานอยู่ที่ 333 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน กรุงเทพ 10700 โทร 0-2435-0400 โทรสาร 0-2433-2233 เป็นฟาร์มที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยผลิตผักจำหน่ายในพื้นที่ 200 ไร่ เริ่มผลิตในเดือนตุลาคม 2546 ด้วยประมาณการผลิต ผัก เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ ผักกาดขาว และผักสลัดชนิดต่างๆ ด้วยระบบ DRFT วันละประมาณ 1000 กิโลกรัม และยังผลิตพืชด้วยระบบใช้วัสดุปลูกเช่นแคนตาลูป ข้าวโพดแลพืชอื่นๆ ด้วย
สวนพืชไร้ดินเป็นสวนที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจได้เข้าชมและเลือกซื้อผลผลิตพืชไร้ดินและสินค้าพื้นบ้านของจังหวัดสุพรรบุรี
สิ่งที่สำคัญก็คือฟาร์มนี้มีแปลงปลูกที่ให้ผลผลิตพืชรอบปลูกละ 1 ต้นอันเป็นแปลงปลูกที่ยาวที่สุดในโลก
2. พิพัฒน์ฟาร์ม (Pipat Farm) ของคุณวีระ พิพัฒน์กุลสวัสดิ์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อรรควุฒิ ทัศน์สองชั้นเป็นที่ปรึกษาและคุณธรีนุช เทอด ไพรสันต์เป็นผู้จัดการ ตั้งอยู่ที่ 32/2-5 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี จังหวัด นนทบุรี 11110 โทร 0-2925-6961-9 ในพื้นที่ 40 ไร่ มีการวางรูปแบบเป็นสวนเกษตรเพื่อผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและจำหน่ายวัสดุอุปรณ์ทางการเกษตรที่เปิดให้นักท่องเที่ยวและผู้สนใจ ได้เข้าชมและเลือกซื้อผลผลิตพื้นที่ผลิตคือ 1) สวนเกษตรพืชสวนที่เป็ฯไม้ผลต่างๆ เช่นทุเรียน มะม่วง มะยงชิด ขนุน มะพร้าวน้ำหอม หมาก กระท้อน เป็นต้นในพื้นที่ 10 ไร่ 2) การผลิตผักกางมุ้ง เช่น ผักคะน้า 3 ไร่ และ 3) ผลิตผักด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ ส่วนใหญ่เป็นผักสลัดหลากหลายชนิดด้วยระบบ DFT ในพื้นที่ 2 ไร่ ที่อยู่ภายใต้โรงเรือนเปิดด้านบนมุงด้วยพลาสติด (โพลิคาร์บอ เนตที่สามารถรองแสงยูวีได้เกือบ 100% ) มีระบบพ่นน้ำแบบพ่นฝอยเพื่อลดอุณภูมิและความชื้นให้แก่พืช
ระบบที่ปลูก 1 โต๊ะประกอบด้วยรางปลูกท่อ PVC สีฟ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว จำนวน 6 ท่อน ยาว ท่อนละ 8 เมตร แผ่นปลูกทำด้วยโฟม เจาะรูปปลูกกล้าที่เพาะในถ้วยปลูกโดยท่อปลูก 1 ท่อจะปลูกได้ 30 ต้น ดังนั้น 1 โต๊ะปลูกจะมีพืช 180 ต้น
การเตรียมต้นกล้า โดยใช้เพอร์ไลท์ผสมกับเวอร์มิคูไลท์ในอัตรา 3 ต่อ 1
น้ำที่ใช้เตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชมีทั้งน้ำฝนและน้ำประปาที่ผ่านระบบ RO
3. กุลวิชญ์พาราไดซ์ฟาร์ม (Kullavit Paradise Farm) ของคุณสุวิทย์ โกวิทย์เจริญสุข ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 3 บ้านศาลากลาง ตำบลศาลากลาง อำเภอบางรวย จังหวัดนนทบุรี โทร 0-1647-0686 โทรสาร 0-2885-2299 ในพื้นที่เป้าหมาย 22 ไร่ ขณะนี้ดำเนินการแล้วในระยะแรก 6.5 ไร่ ปลูกพืชทั้งผักไทยและต่างประเทศแบบปลอดภัยจากสารพิษด้วยระบบ DRFT ด้วยกำลังการผลิตวันละ 200 กิโลกรัมและจะผลิตให้ได้ 1000 กิโลกรัมเมื่อพัฒนาพื้นที่เต็มโครงการ
สิ่งที่โดดเด่นของฟาร์มก็คือมีการตกแต่ภูมิทัศน์ภายในฟาร์มด้วยวัสดุรีไซเคิลที่สวยงาม จากการสนับสนุนจาก "ศูนย์รีไซเคิลพระสถาปนาพุทธิวังโส" มีพระสถาปนาพุทธิวังโสเป็นประธาน (ศูนย์ฯ ตั้งอยู่ที่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ถนนจรัญสนิทวงค์ 32 บางกอกน้อย กรุงเทพ โทรศัพท์ และโทรสาร 0-2434-2146) ซึ่งเป็นศูนย์ที่พัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยกระบวนการรีไซเคิลให้แก่สาธารณชนแบบกุศลทางเพื่อให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้การทำและการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่รีไซเคิล ดังนั้นฟาร์มนี้จึงเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยใช้กระบวนการรีไซเคิลที่ตกแต่งงานภูมิทัศน์เพื่อการปลูกพืชโดยไม่ต้องใช้ดินแห่งแรกของโลกซึ่งจุดเด่นของฟาร์มคือเขาตะปูที่มีความสูง 24 เมตร
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการจำหน่ายเป็นอาหาร
1. ฟาร์มและร้านสวนผัก ของคุณวิมุติ จินดาสินธุ์ ตั้งอยู่ที่ 61 หมู่ 3 ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50200 โทร 053-201690 มีคุณทวี ตันหลีเป็นผู้จัดการ ผลิตผักสลัดชนิดต่างๆ โดยระบบ NFT ด้วยกำลังการผลิตผักในฟาร์มที่ตั้งอยู่หลังร้านสวนผักวันละ 500 กิโลกรัม นอกจากจำหน่ายผักสดแล้วยังใช้ปรุงอาหารจำหน่ายที่ร้านสวนผักซึ่งสถานที่ตั้งดีมากเพราะตั้งอยู่ติดถนนในยานชุมชนที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติและเปิดร้านสาขาชื่อร้านสวนผักกลางเวียงขึ้นอีกด้วย
รายการอาหารที่จำหน่ายมีหลายชนิดโดยเฉพาะสลัดหลากหลายชนิด เช่น สลัดผักสด สลัดผลไม้ สลัดทูน่า สลัดไก่ย่าง สลัดหมูย่าง สลัดเนื้ออบ สลัดกุ้ง และเชฟสลัด เป็นต้น
2. ร้านตะเกียง ของคุณเพียงจันทร์ ธารไพสาณ์ที่ใช้ผลิตผักจากการปลูกของสวนผักคุณสะอาดตั้งอยู่ที่ 32 หมู่ 1 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ขอนแก่น โทร 043-222478 ที่ปลูกผักชนิดต่างๆ ที้งผักสลัด ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักฮ่องเต้ ผักกาดขาว โดยรบบ DRFT ด้วยกำลังการผลิตวันละ 30 กิโลกรัม มาปรุงอาหารที่ร้านตะเกียงซึ่งตั้งอยู่ที่ 704 ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
รายการอาหารที่ผลิตออกจำหน่ายมีหลายชนิด เช่น สลัดผัก ผัดผักชนิดต่างๆ เช่น ผัดผักน้ำมันหอย
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพรรณไม้น้ำเชิงธรุกิจ
ฟาร์มผลิตพรรณไม้น้ำเชิงธุรกิจด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์ของบริษัทอะแคว็ททริค พลานท์ เซ็นเตอร์ (Aquatic Plant Center) ประเทศไทย จำกัด ของคุณลิม ชัวโฮ ชาวสิงคโปร์ ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โทร 0-2974-1524 ในพื้นที่ 17 ไร่ ใช้แรงงาน 20 คนและได้เปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดชุมพรในพื้นที่ 9 ไร่ ผลิตพรรณไม้น้ำส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก เช่น เนเธอร์แลด์ เยอรมนี ฟินแลนด์ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสิงคโปร์มานานกว่า 20 ปี เริ่มพัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วยระบบไฮโดรโพนิกส์เมื่อปี 2545 โดยการเลี้ยงในแปลงคอนกรีตในโรงเรือนขนาดใหญ่ รักษาอุณหภูมิของน้ำประมาณ 25 องศาเซล เซียส ความชื้นสัมพันธ์ในโรงเรือนประมาณ 70-80% ให้สารละลายแบบหมุนเวียนโดยใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
พรรณไม้น้ำที่เลี้ยงมีหลายชนิด แต่ที่เน้นหนักคือวงศ์อนูเบียสที่ส่งออกจำหน่ายราคาประมาณต้นละ 40 บาท ส่วนพันธุ์อื่นๆ เช่น ต้นผมทอง และพรรณ ไม้น้ำตระกูลอเมซอนจำหน่ายราคาเฉลี่ยต้นละ 5-7 บาท ข้อดีของการเพาะเลี้ยงระบบไอโดรโพนิกส์ก็คือพืชจะปลอดภัยจากเชื้อราและหนอน ส่วนการเพาะเลี้ยงด้วยระบบอื่นๆ นั้นบริษัทได้นำสมุนไพรมาใช้ในการป้องกันศัตรูพืชแทนการใช้สารเคมี
ตัวอย่างฟาร์มผลิตพืชในสถาบันการศึกษา
ฟาร์มปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมการเกษตร รับผิดชอบโดยอาจารย์นิ่มนวล วาสนา ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 12000 โทร/โทรสาร 02-567-0784 เริ่มทำการผลิตผักด้วยระบบ DRFT จำนวน 42 แปลง เป็นฟาร์มที่ตั้งขึ้นการเรียนการสอนของนักศึกษา การแปลงสาธิต การฝึกอบรม ของของศูนย์ ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร (ศวษ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานหรือผู้ที่ สนใจทั่วไปมาตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2547
ฟาร์มนี้ยังเป็นฟาร์มที่สอนในการเรียนรู้ในการผลิตผักเชิงธุรกิจ ผักที่ผลิตเชิงธุรกิจให้แก่ตลาดใกล้เคียงมีทั้งผักสลัดและผักจีน แต่ส่วนใหญ่เป็นผักสลัดตามความต้องการของตลาด เช่น กรีน โอ๊ค เรด โอ๊คบัตเตอร์เฮด ฟิเลย์ นอกจากนี้ยังผลิตผักประเภทสมุนไพร (Herb) เช่น สะระเหน่ ผักแพว โพระพา จำหน่ายให้แก่ร้านอาหารเวียตนามเพื่อบริโภคกับแหนมเนื่อง เนื่องจากฟาร์มนี้มีที่ตั้งที่ดีคืออยู่ใกล้ตลาดทำให้กำลังการผลิตยังไม่พอเพียงต่อความต้องการของตลาด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น