วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การปลูกพืช hydroponics โดยไม่ใช้ดินกับสิ่งแวดล้อม

การปลูกพืชกับการกับการแก้ปัญหาอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในอาคาร

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เช่น ระบบไฮโดรโพนิกส์ ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญที่ช่วยทำลายอากาศเสียและกลิ่นเหม็นภายในห้องพักและที่ทำการ (Indoor air pollution) นักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมนีพบว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นภายในอาคาร เช่นกลิ่นฟอร์มาลิน เบนซิน และฟีนอล ที่มาจากการใช้วัสดุตกแต่งห้อง เช่น วัสดุที่ทำจากพลาสติกวัสดุก่อสร้างสำนักงาน สี และนิโคตินจากการสูบบุหรี่

ผลจากการศึกษาวิจัยของอาค์การนาซ่า (NASA) และ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ที่ใช้เวลา 2 ปีได้แนะนำพืชที่ควรปลูกภายในอาคาร ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาอาการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากปัญหาสภาพภายในอาคารที่ไม่ดี (Sick bulding syndrome) พืชเหล่านี้เป็นพืชที่ช่วยดูดฟอร์มาลิน เบนซิน และคาร์บอนมอนอกไซด ได้แก่
พืชในวงศ์ปาล์มสกุล Chammaedorea sp. (Bamboo palm)
อโกลนีมา (Aglaonema sp หรือ Chinese evergreen)
พืชสกุลเดียวกับหมากผู้หรือจันทร์ผา (Dracaena sp.)
พืชสกุลเดียวกับว่านงาช้างหรือว่านงู (Sanseviera sp.)
พืชสกุลเยอบีร่า (Gerbera sp)
พืชสกุลเดียวกับดอกเดหลี (Spathiphllum sp.)
พืชสกุลเบญจมาศ (Chrysanthemum sp.)
พืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเหล่านี้สามารถดูดพิษจากฟอร์มาลินปริมาณมากไว้ในใบแล้วเปลี่ยนสิ่งที่ดูดไว้ถึง 90% ไปเป็นน้ำตาลและอื่น ๆ
นักวิจัยได้ศึกษาทดลองพบว่าพืชจำพวกไทร (Ficus) สามารถดูดนิโคตินแล้วเปลี่ยนสลายไปอย่างรวดดดเร็วด้วยการเจริญเติบโต รวมทั้งพบว่าพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอย(Pothos) สามารถดูดนิโคตินไว้ในใบอ่อนซึ่งนักวิจัยจากสถาบันพฤกษศาสตร์มหาวิทยาลัยโคโลจ์น ประเทศเยอรมณีพบว่ามีปริมาณถึง 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้งของใบ 1 กรับ การปลูพืชจำพวกไทยร่วมกับพืชสกุลเดียวกับหวายตะมอยจะมีผลทำให้อากาศที่เป็นพิษในห้องทำงาน เปลี่ยนไปเป็นอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Halim and Tek, 2000)
การใช้การปลูกพืชโยไม่ใช้ดินผลิตพืชสวนประดับในที่ทำงานนอกจากจะสร้างความสวยงามดังกล่าว ธุรกิจการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่เกี่ยวกับพืชสวนประดับในที่ทำการต่าง ๆ ในต่างประเทศ เช่น สนามบิน โรงแรง อาคารที่ทำงาน รวมทั้ง้านพักอาศัยจึงได้รับความนิยมสูนในยุโรป สำหรับในเอเซียก็กบว่ากำลังเป็นที่นิยมกันในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งเพิ่งจะเริ่มดำเนินการเมื่อประมาณกลางปี 2540
ที่มา : Halim and Tek,2000. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน ดิเรก ทองอร่าม

ในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยแต่มีจำนวนประชากรหนาแน่น รัฐบาลและเอกชันได้ร่วมกันหาทางให้ประชาชนทั้งในเมือง และชนบทมีชีวิตและสุขภาพที่ดี เช่น สมาคมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินของสิงค์โปร์ (The Singapore Society of Soilless Culture) และสมาคมปลูกพืชของสิงค์โปร์ (The Singapore Cardenig Society) ได้ร่วมกันรณณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ การใช้ชีวิตครอบครัวอย่างเป็นสุข (Happy family life) อยู่กับธรรมชาติที่เขียวขจี (Green life) ด้วยการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินในพื้นที่ว่างตามบ้านพัก ที่ทำงาน และภัตตาคาร เป็นต้น (Halim and Tek,2000)


การเกิดปัญหาจากการตกค้างของไนเตรดในพืช
ในการปลูกพืชบนดินโดยปกติแล้วไม่ว่าเราจะใส่ปุ๋ยในรูปของปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยแอมโมเนียมที่ให้แอมโมเนียในรูหของปุ๋ยไนโตรเจนที่มักจะเดิมลงไปในดินนั้นเรามักจะพบว่าปริมาณของแอมโมเนียมน้อยเนื่องจากแอมโมเนียมจะถูกออกซิไดซ์ 2 ขั้นตอนอย่างรวดเร็ว กลายเป็นไนเตรตที่เป็นปุ๋ยหลักในดินโดยกิจกรรมขอเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มไนโตรโซโมเนส (Nitrosomonas spp.) และ ไนโตรแบคเตอร์ (Nitrobacter spp.) ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดในกระบวนการไนทริฟิเคชัน (Nitrification)

การเกิดการสะสมของไนเตรต เนื่องจากพืชเป็นสิ่งมีชิวิตที่สร้างอาหารได้เองโดยกระวนการการจัดการการผลิตที่พืชกำหนดขึ้นกระวนการเหล่านี้จะมีหลายกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาเช่น "กิจกรรมสังเคราะห์" เพื่อการสร้างและ "กิจกรรมสลาย" จากผลผลิตที่ได้มาจากกิจกรรมหนึ่งไปเน็นกิจกรรม์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เช่น
การเปลี่ยนไนเตรต (N03) ไปเป็นแอมโมเนีย (NH3) ก่อนที่พืชจะนำแอมโมเนีย (NH3) ไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนอันเป็นลักษณะของกิจกรรมสังเคราะห์
แต่บางครั้งแอมดมเนีย (NH 3) จะเปลี่ยนไปเป็นไนเตรต (NO3) อันเป็นลักษณะของกิจกรรมสลายในขณะเดียว ก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนที่จะนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโน
เนื่องจากแอมโมเนีย (NH3) สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นประโยชน์ได้อย่างสมบรูรณ์และไม่เก็บกักหรือสะสมในเซลล์ของพืช ในขณะที่ไนเตรต (NO3) สามารถถูกดูดซับและสะสมในแวคิวโอล (Vacuole) ที่อยู่ในเซลล์พืชได้บ้าง เพื่อรอเมื่อต้องการเปลี่ยนกลับมาเป็นแอมโมเนีย (NH3) อีกก่อนนำไปสังเคราะห์เป็นกรดอมิโนแต่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่นขาดแสงแดดหรือธาตุโมลิบดินัม ดังนั้นจึงเกิดลักษณะการสะสมของไนเตรตในพืชขึ้นมา
ธรรมชาติในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช (ที่ปลูกบนดินหรือปลูกโดยไม่ใช้ดิน) ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่เมื่อได้รับไนเตรตเข้าไปแล้วพืชจะไม่สะสมไนเตรตไว้นานเนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงโดยใช้เอนไซม์ต่างๆ ในพืชมาเร่ง ปฏิกิริยาให้เปลี่ยนแปลงเป็นแอมโมเนียและกรดอมิโนต่อไป (ยงยุทธ เจียมไชยศรี,2546)
เนื่องจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้จะมีแสงแดดเข้ามาเกี่ยวข้อง กล่าวคือการมีอากาศร้อนและมี "แสงแดด" จัด หรือความเข้มของแสงมากและมีชั่วโมงของแสงที่ยาวนานจะทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามปกติหรือทำให้ไม่มีการสะสมของไนเตรตในพืช ดังนั้นปัญหาการตกค้างของไนเตรตมักจะเกิดกับพืชที่ปลูกในโรงเรือนในประเทศที่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตก หรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้าที่มืดครื้ม 2-3 สัปดาห์ติดต่อกัน (Radojevic and Bashkin,1999) ส่วนมากจะเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน โดยมักจะพบว่าปริมาณของไนเตรตจะมีมากในใบพืชในฤดูหนาว (และ ฤดูใบไม้ร่วง) มากกว่าฤดูร้อน (และฤดูใบไม้ผลิ)
สำหรับปัญหาเรื่องการตกค้างหรือการสะสมของไนเตรตในผลผลิตพืชในประเทศไทยนั้นไม่น่าจะมีหรือหากมีก็ไม่น่าจะอยู่ใน "ระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค" (การตรวจวัดควรคำนึงถึงวิธีการเก็บและการทำความสะอาดพืชตัวอย่าง รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัด) เนื่องจากประเทศไทยไม่มีฤดูหนาวที่หนาวจัดจนมีหิมะตกหรือมีแสงแดดน้อยหรือมีท้องฟ้า ที่มืครื้ม 2-3 สัปดาห์ ติดต่อกันเหมือนประเทศในเขตหนาว
ประโยชน์และปัญหาของไนเตรต
มนุษย์มิได้มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชเท่านั้นแต่ยังจะได้รับจากการบริโภคอาหาร "เนื้อสัตว์และผลผลิต" เพราะปกติแล้วจะมีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารใน 4 รูปแบบคือ
โพแทสเซียมไนเตรตหรือดินประสิว (KNO3) โซเดียมไนเตรต (NaNO3)

โพแทสเซียมไนไตรท์ (KNO3) และ โซเดียมไนไตรท์ (NaNO3)

เพื่อเป็น "สารเติมแต่ง (Food additives) สำหรับเนื้อสัตว์และผลผลิต" เพื่อให้สดและแต่งสี (ให้เป็นสีแดงแทนสีน้ำตาล) และเพื่อการถนอมอาหารโดยไนเตรตจะทำหน้าที่เป็น สารกันบูดหรือสารกันเสีย (Food preservative) คือไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางแคมีจำพวกออกซิเดชั่นที่มีผลทำให้อาหารมีกลิ่นแปลกไปจากเดิมและป้องกัน ไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่าเจริญเติบโต โดยเฉพาะแบคทีเรียจำพวกคลอสตริเดียมคือคลอสตริเดียม บอทูลินั่ม (Clostridium botulinum) และคลอสตริเดียมเปอร์ฟรินเจน (Clostridium perfringens) ที่สามารถผลิตสารพิษหรือทอกซิน (Toxin) ที่มีพิษรุนแรงมากที่สุดที่ทำให้คนตายได้จนเรียกโรคที่เกิดจากถนอมอาหาร เช่น เนื้อหมัก เบคอนแฮม ไส้กรอกรมควัน เนื้อ เนื้อกระป๋อง พายหมู ปลารมควัน พิซซ่าแช่แข็งและเนยเข็งบางชนิดซึ่งจะใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่ประมาณ 120 มก./กก. (Radojevic and Bashkin,1999) ประเทศต่างๆ ได้กำหนดปริมาณการใช้สารเติมแต่ในอาหาร เช่นสหราชอาณาจักรกำหนดให้ไม่เกิน 500 มก./กก.) และค่า ADI ของNaNO3) ที่ 0-5 มก./(น้ำหนักของคนเป็น) กก. สำหรับ (KNO3) (NaNO3) ที่ 0-0.2 มก./กก. โดยค่า ADI=0 เป็นอาหารสำหรับทารก (Baby food) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่า ADI ที่ 220 มก./กก. สำหรับผู้ใหญ่ (Adult)

2. สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์ในอาหารได้ไม่เกิน 500 และ 200 มิลลิกรัมต่อเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัมตามลำดับแต่ในทางปฏิบัติผู้ผลิตมักจะใส่ในปริมาณสูงกว่านี้เพื่อให้เนื้อเป็นสีแดงและน่ารับประทาน โยเฉพาะในการทำเนื้อสวรรค์ เนื้อแดดเดียว ไส้กรอก แหนม ปลาเค็มและเนื้อสดในร้านก๋วยเตี๋ยว

3. ปัญหาที่มีไนเตรตในอาหารมากเกินไปจะก่อให้เกิดปัญหาของความปลอดภัยในการบริโภคอาหารเพราะเมื่อกินไนเตรตเข้าไปแบคทีเรียในลำไส้จะเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรท์ ซึ่งไนไตรท์จะเป็นตัวทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ป่วย เช่น 1)ไปขยายหลอดเลือดให้ฟโตขึ้นทำให้ความดันเลือดต่ำลงทำให้รู้สึกเหมือนเป็นลมหมดสติ 2)ทำให้ตับไม่สามารถสะสมวิตามินเอได้ตามปกติ 3)ปัญหาสำคัญคือจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเด็กเนื่องจากไนไตรท์จะขัดขวางการพาออกซิเจนฮีโมโกลบินในเลือดกล่าวคือเมื่อไนไตรท์ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดแล้วจะเข้าจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนได้สารประกอบสีน้ำเงินจะทำให้เด็กตัวเขียวคล้ำ ขาดอากาศหายใจและอาจตายในที่สุด อาการเช่นนี้เรียกว่า โรคบลูเบบี้ (Blue baby syndrome) หรือ โรคเมทีโมโกลบิเนเมีย (Methemoglobiemia) ในเด็กเล็กและทารกในช่วงที่อยู่ในครรภ์ของมารดา โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือนเพราะลำไส้มีความเป็นกรดที่พอเหมาะกับความต้องการของแบคทีเรียประเภทไนเตรตรีดิวซิ่งแบคทีเรีย (nitrate reducing bacteria) ที่จะเปลี่ยนไนเตรต เป็นไนไตรท์

นั่นคือไนไตรท์จะเปลี่ยนฮีโมโกลบิลให้เป็นเมทีโมโกลบิน (Methemoglobin) ซึ่งไม่มีอำนาจหรือความสามารถ ในการนำออกซิเจนจากปอดไปสู่ร่างกายทำให้สมองขาดออกซิเจนและเป็นลมหมดสติ

การที่ผู้ป่วยที่เป็นเด็กจะเป็นอันตรายมากกว่าผู้ใหญ่ก็เพราะผู้ไหญ่มีเอ็นไซม์เมทีโมโกลบินรีดักเตส (Methemoglobin reductase) ที่คอยช่วยเปลี่ยนเมทีโมโกลบินให้เป็นฮีโมโกลบินได้ตามเดิม

สารไนเตรตและไนไตรท์ที่กินเข้าไปอาจถูกแบคทีเรียในลำไส้บางชนิดเปลี่ยนไปเป็นสารที่ก่อให้เกิดสารก่อโรคมะเร็งหรือคาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เช่นหากเปลี่ยนไปเป็นไนโทรซามีน (Nitrosamine) แล้วอาจจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะการใส่ไนเตรตและไนไตร์ลงในเนื้อสัตว์ในปริมาณมากๆ เพื่อหวังให้เนื้อมี สีแดงสวยนั้น ถ้าหากมีการหมักเนื้อทิ้งไว้นานๆ จะเกิดปฏิกิริยาทางแคมีหลายชั้นเช่นสารอะมีน (Amine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีนในเนื้อสัตว์จะทำปฏิกิริยากับไนไตรท์เกิดสารไนโทรซามีนได้หลายชนิดด้วยกันเป็นสารที่ทำเกิดมะเร็งของตับได้มากที่สุด รองลงมาเป็นมะเร็งของหลอดเลือดอาหาร มะเร็งาของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งมะเร็งของระบบทางเดินหายใจ ไต ทางเดินอาหารและกระเพาะปัสสาวะ (ลำดวน เศวตมาลย์ 2525)

ปกติการที่มนุษย์จะได้รับผลเสียจากไนเตรตนั้นจะต้องบริโภคไนเตรตในปริมาณมากจนถึงขีดเป็นอันตราย

ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีโอกาสที่จะได้รับไนเตรตจากพืชน้อยกว่าการได้รับจากการบริโภคอาหารที่มีการใช้ไนเตรตและไนไตรท์เป็นสารเติมแต่งอาหารที่ผิดพลาด (เช่น ลองพิจารณาจาการบริโภคผักกับแหนมหรือผักกับไส้กรอกเป็นต้น)

4. คณะกรรมการวิทยาศาสตร์เพื่ออาหารของสหภาพยุโรป (European Commission's Scientific Committee for Food) ได้กำหนดค่าที่ยอมรับว่าผู้บริโภคสามารถบริโภคไนเตรตได้อย่างปลอดภัย (Acceptable Daily Intake หรือ ADI) สำหรับไนเตรตอยู่ที่ 3.65 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของคนเป็นกิโลกรัม หรือประมาณ 219 มิลลิกรัมต่อวันต่อคนที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม

5. เนื่องจากแต่ละประเทศได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดแตกต่างกันไป เช่นปวยเหล็ง (Spinach) สหรัฐอเมริการกำหนดให้ที่ 3,600 มก./กก. เนเธอร์แลนด์ที่ 3,000 มก./กก. และรัสเซียที่ 2,100 มก./กก. ส่วนผักที่รับประทานในเนเธอร์แลนด์และออสเตรียกำหนดปริมาณไนเตรตสูงสุดที่ 4,500 มก./กก. และ 3,000 มก./กก. สำหรับเยอรมนีสหภาพยุโรป (European Union) ได้กำหนดค่าระดับสูงสุดของไนเตรตในพืชแต่ละชนิดและในระยะเวลาที่บริโภคของผู้บริโภคดังแสดงในตารางที่ 13.1-13.2

6. ปัญหาในด้านอุตสาหกรรมการบรรจุเป็นอาหารกระป๋อง ผักและผลไม้ที่มีไนเตรตสูง เมื่อบรรจุเป็นอาหารกระป๋องจะทำให้ผิวเคลือบดีบุกภายในกระป๋องเป็นสีดำซึ่งโรงงานสับปะรดกระป๋องได้กำหนดให้มีไนเตรตได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยงยุทธ โอสถสภา, 2543)

7. พืชอาหารสัตว์ที่มีไนเตรตเกิน 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้งอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เคี้ยวเอื้องระดับของไนเตรตที่เป็นอันตรายต่อสัตว์คือ 0.7 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักของสัตว์เป็นกิโลกรัม โคเนื้อและหมูจะแสดงอาการไวมากต่อระดับของไนเตรตในขณะที่แกะจะมีความทนได้มากที่สุด การมีไนเตรต 0.21 เปอร์เซ็นต์ของอาหารสัตว์ถือว่าเป็ฯอันตราย ต่อสัตว์เลี้ยง การที่สัตว์ได้รับไนเตรตมากจะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง การขาดวิตามินเอ แท้งลูก ระบบรังไข่และการให้กำเนิดลูกผิดปกติ (Radojevic and Bashkin,1999)

8. การใช้ปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องอาจทำไห้มีไนเตรตในน้ำในดิน องศ์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดปริมาณ ไนเตรตและไนไตรท์สำหรับน้ำดื่มคือ 50 มก. NO3/ล. (หรือ 11 มก.N./ลิตร) และ 0.1 มก.NO3/ล. (Radojevic and Bashkin,1999)

9. สิ่งที่น่าสนใจก็คือเรื่องการป้องกันโรคมะเร็ง โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการบริโภคผักในตระกูลบรัสสิการ (Brussica) หรือผักในตระกูลเดียวกัน บร็อคโคลี (Broccoli) กะหล่ำใบ กะหล่ำดอก กะหล่ำดาวหรือ คะน้าอันเป็นผักที่อุดด้วยสารประกอบที่สามารถป้องกันมะเร็งและโรคเรื้อรังอื่นๆ ได้ดีเนื่องจากผักในตระกูลบรัสสิกานี้มีสารเคมีชื่อสินิกริน (Sinigrin) และกลูโคราฟานิน (Glucoraphanin) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการต่อต้านโรคมะเร็ง สารทั้งสองชนิดนี้จะทำงานเมื่อเซลล์พืชเสียหายในระหว่างกระบวนการปรุงเป็นอาหารหรือเมื่อถูกขบเคี้ยวโดยจะปล่อยเอนไซม์ ชนิดหนึ่งออกมา เอนไซม์ที่ปล่อยออกมานี้จะไปเปลี่ยนกลูโคราฟานินให้เป็นซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เอนไซม์ต่างๆ ในร่างกายถูกขับออกมาขจัดสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (คือสารคาร์ซิโนเจน) ให้หมดไป

10. งานวิจัยในระดับปริญญาเอกของนุชนาถ รังคดิลก ที่สถาบันทรัพยากรที่ดินและอาหาร มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในปี 2544 ยืนยันว่า "กินคะน้าไม่เป็นมะเร็ง" ซึ่งความเข้มข้นของกลูโคราฟานินของผักในตระกูลบรัสสิการจะมีมากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และระยะการเจริญเติบโต เช่น เมล็ดและต้นอ่อนของบร็อดโคลีจะมีระดับของกลูโคราฟานินสูงกว่าต้นที่โตเต็มที่ นอกจากนี้ยังพบว่าการเก็บรักษาผักสดในถุงพลาสติก (Polyethylene) สามารถรักษาปริมาณสารนี้ในผักได้ ประมาณสามสัปดาห์

การจัดการเพื่อลดไนเตรตตกค้างในพืช
การลดความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารพืชลง เช่นลดลงเหลือ 1 ใน 4 ของการให้ความเข้มข้นตามปกติก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์

อย่าให้สารละลายธาตุอาหารพืชขาดธาตุโมลิบดินัม ให้พืชได้รับธาตุอาหารอื่นๆ อย่างพอเพียงโดยเฉพาะ "โมลิบดินัม" เนื่องจากโมลิบดินัมเป็นธาตุที่ช่วย (หรือโคแฟคเตอร์) ในหารทำงานของเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตส ดังนั้นอย่าให้พืชขาดธาตุโมลิบดินัมเพราะจะทำให้ความสามารถในการทำงานเพื่อลดการสะสมของไนเตรตของพืชลดลง

การจัดการแสง ให้พืชได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่หรือลดการพลางแสงก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์เพราะเอนไซม์ไนเตรตรีดักเตสจะถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดให้เอนไซม์ทำงาน

การให้น้ำแทนการให้สารละลายธาตุอาหารพืช ถ้ายังไม่มั่นใจผลจากการปฏิบัติทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นก็ควรลดความเข้มข้นของสารละลายลงในสัปดาห์สุดท้ายและให้น้ำเปล่าหรือน้ำประปาแทนการให้สารละลายก่อนเก็บเกี่ยว 1-2 วัน ดังเช่นผู้ผลิตในบางประเทศของยุโรปและในประเทศญี่ปุ่น นิยมปฏิบัติกันแต่ถ้าใช้หลักการนี้กับการปลูกแคนตาลูปอาจทำให้ความหวานลดลงได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยงานวิจัยรองรับ

อนึ่ง การสะสมไนเตรตนี้มิใช่จะเป็นปัญหาเฉพาะพืชที่ปลูกโดยไม่ใช้ดินเท่านั้น การปลูกพืชบนดินก็สามารถเกิดปัญหาดังกล่างได้เช่นกันถ้ามีการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (เช่นแอมโมเนียมไนเตรต) ก่อนการเก็บเกี่ยวโดยที่ไนเตรตที่พืชดูดเข้าไปสะสมในเยื่อที่ยังไม่เปลี่ยนรูปเป็นสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่น กรดอมิโนและโปรตีน ดังนั้นจึงไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อใกล้เก็บเกี่ยวพืช

การไม่ย่อยสลายของวัสดุปลูก
วัสดุปลูกที่ผลิตจากสารสังเคราะห์จะไม่ย่อยสลายง่าย ทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข เช่น การไช้ใยหินหรือร็อควูล พลาสติกและปุ๋ย ดัวอย่างเช่น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีการใช้มากและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ร็อควูลและพลาสติกที่มีปริมาณ กล่าวคือในพื้นที่ปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่ โดยใช้ร็อดวูลเป็นวัสดุปลูกจะมีวัสดุใช้แล้วที่เป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม

ปริมาณร็อควูล พลาสติกและปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกมะเขือเทศ 1 เฮกตาร์หรือ 6.25 ไร่

ประเทศเนเธอร์แลนด์พยายามแก้ไขปัญหาดัวกล่าวโดยการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาผลิตใหม่หรือมีการหมุนเวียนใช้ใหม่ (Recycle) แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากเนื่องจากค่าขนส่งและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตพืชไม่ใช่ปัญหาหลัก ในประเทศอินโดนีเซียได้มีการแก้ไขปัญหาการใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกโดยการนำมาใส่ถังยางมะตอยต้มในน้ำที่มีอุณหภูมิสูงแล้วนำกลับมาใช้ใหม่

สำหรับการผลิตในประเทศไทยนั้น วัสดุปลูกที่เห็นกันมาก เช่น ถ้วยเพาะเมล็ดและถ้วยปลูกที่ทำจากพลาสติก รวมทั้งการใช้วัสดุปลูกอื่นๆ เช่นเพอร์ไลท์ที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง สาเหตุที่ไม่กล้าใช้ซ้ำก็เนื่องจากกลัวปัญหาการเกิดโรค วัสดุดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเนื่องจากยากแก่การทำลายเพราะย่อยสลายยากแกรแก้ปัญหาโดยการนำกลับมาผลิตใหม่หรือ Recycle น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

ตัวอย่างสำหรับการผลิตในระบบ NFT ที่ได้จากการสำรวจจากผู้ปลูกโดยระบบไฮโดร โพนิกส์ในประเทศไทยในปี 2543 จากการผลิตพืชจำพวกผักสลัด โต๊ะละ 576 ต้น จำนวน 30 โต๊ะต่อไร่ โดยผลิตจำนวน 8 ครั้งต่อปีจะมีการใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

การเกิดปัญหาจากสารอาหารพืชทำให้ดินและน้ำเสีย
การทำลายหรือการจัดการสารอาหารที่ใช้แล้วต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะปุ๋ยหรือสารเคมี โดยเฉพาะพวกไนเตรตและฟอสเฟตอาจไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลองหรือทำให้น้ำใต้ดินเสียหายได้

เพื่อความเข้าใจในเรื่องนี้จะขอยกตัวอย่างของลักษณะการใช้ธาตุอาหารและน้ำสำหรับการปลูกพืชประกอบดังนี้

ปกติแล้วเมื่อให้สารอาหารแก่พืช ผู้ปลูกต่างก็หวังว่าพืชจะใช้ปุ๋ยที่ให้ทั้งหมด 100% แต่ในความเป็นจริงแล้วพืชที่ให้ผลผลิตเป็นผล เช่น มะเขือเทศและแตง จะใช้ปุ๋ยเพียง 50% โดยจะใช้เพื่อการสร้างลำต้น กิ่ง ใบ (Crop residue) 20% และอยู่ในผลผลิต (Product) อีก 30% ส่วนที่เหลือ 50% จะถูกระบายออกไป (Drainage) ในขณะที่ปริมาณน้ำที่ใช้ถ้าคิดเป็น 100 % นั้นจะสูญเสียไปโดยการคายน้ำ (Transpiration) 70% และสูญเสียโดยการระบายออกไป 30%

ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่เพาะปลูกต้องมีไนโตรเจนต่ำกว่า 2 มิลลิกรัมต่อลิตรและฟอสเฟตต่ำกว่า 0.15 มิลลิกรัมต่อลิตร

เนื่องจากพืชแต่ละชนิดจะใช้ปุ๋ยมากน้อยแตกต่างกันไป เช่น มะเขือเทศที่ให้ผลผลิต 50 กิโลกรัมในพื้นที่ปลูกหนึ่งตารางเมตรต่อปีนั้นจะดูดใช้ปุ๋ยไนโตรเจน 900 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ต่อปี (144 กิโลกรัม ต่อไร่ต่อปี) โพแทสเซียม 275 กิโลกรัม ต่อเฮกตาร์ต่อปี (44 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี) ดังนั้นการที่ประเทศเนเธอร์แลนด์กำหนดให้น้ำที่ระบายออกจากพื้นที่ปลูกที่มีไนโตรเจนต่ำกว่า 10,20 หรือ 30 กิโลกรัมและฟอสเฟตระหว่าง 5-10 กิโลกรัมนั้นเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำมาก ทำให้ผู้ผลิตต้องมีการจัดการอย่างเข้มงวดเพราะจากการตรวจสอบการสูญเสีย (Leaching) ของปุ๋ยและน้ำจากการปลูกพืชโดยใช้ร็อควูลเป็นวัสดุปลูกพืช โดยทั่วไปในประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าสารอาหารที่ให้มีปุ๋ย 1800 กรัม/ตารางเมตรจะสูญเสีย 945 กรัม ต่อตารางเมตร ประสิทธิภาพการใช้น้ำ 70% และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเพียง 52% ซึ่งประสิทธิภาพการใช้น้ำและปุ๋ยนี้ใกล้เคียงกับข้อมูลดังกล่าวข้างต้น

อย่างไรก็ตาม การปลูกพืชบนดินแบบธรรมดาก็ประสบปัญหาในเรื่องดังกล่าวเช่นกันเพราะจากข้องมูลแสดงให้เห็นว่าจะมีการคายน้ำประมาณ 650 มิลลิเมตร หรือ 650 ลิตร ต่อตารางเมตรและน้ำที่ชะล้างความเค็ม (Leaching fraction) ประมาณ 30%

ไนโตรเจนในดิน (N-soil solution) ในโรงเรียนที่ปลูกพืชด้วยดินประมาณ 20 โมห์/ม3 ต้องการใช้น้ำมากกว่า 9,000 ม3 /เฮกตาร์ การคายน้ำ 6,500 ม3 มีน้ำที่ระบายวัดได้ 2,786ม3 ดังนั้นเมื่อคำนวณหาปริมาณของไนโตรเจนที่สูญจะได้ (2,786*20*0.014)=780 กก./เฮกตาร์ (หรือ 121.6 กก./ ไร่)

จะเห็นได้ว่าปริมาณของไนโตรเจนที่สูญเสียไปจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาไม่แตกต่างไปจากการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่มีการให้สารอาหารแบบระบบเปิดเลย

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินไม่ได้เป็นตัวสร้างปัญหาเกี่ยวกับไนเตรตมากไปกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติ

สิ่งที่สำคัญก็คือการป้องกันการสูญเสียไนโตรเจนจากการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาทำได้ยากกว่าการปลูกโดยไม่ใช้ดินเพราะในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินนั้นสามารถนำสารอาหารพืชที่จัดการแล้วมาใช้หมุนเวียนได้อีก ในขณะที่การปลูกด้วยดินแบบธรรมดานั้นทำได้ยาก ในขณะเดียวกันยังสามารถจัดการเพื่อลดปัญหาได้ดีกว่าการปลูกด้วยดินแบบธรรมดาอีกด้วย เช่น โดยการปรับปรุง (โดยการสเตอร์ไรล์เพื่อฆ่าเชื้อโรค) สารอาหารที่ใช้แล้วเพื่อนำหลับมาใช้ใหม่อีกเป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการจัดการเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยแล้ว การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสามารถป้องกันหรือจัดการได้ดีกว่าการปลูกโดยใช้ดินตามธรรมชาติอีกด้วย โดยเฉพาะการผลิตในประเทศไทย

อนึ่ง จุดเด่นของการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินก็คือนอกจากจะสามารถป้องกันโรคที่มาจากดินติดไปกับผลผลิตที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังมีข้องดีกว่าการปลูกผักกางมุ้งตรงที่สามารถป้องกันแมลงที่มีระยะการเจริญเติบโตที่เป็ฯดักแด้ที่อยู่ในดินได้ เพราะในการปลูกผักกางมุ้งนั้น ถ้าหากไม่มีกรเตรียมดินที่ดีหรือไม่มีการตากดิน หากมีหนอนที่เป็นดักแด้ในดิน เช่น หนอนกระทู้หอม (หนอนหนังเนียว) หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมออเมริกัน (Hellothis sp.) หลงเหลืออยู่แล้วก็จะออกมาขยายพันธุ์และระบาดทำลายพืชที่ปลูกในมุ้งได้

ผลกระทบจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
เนื่องจาการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชโดยใช้หรือไม่ใช้ดินก็ตามจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คือเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

การจำแนกชนิดของสารแคมี สารแคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ในปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชนิดซึ่งสามารถจำแนกออกได้หลาย รูปแบบเช่น

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามชนิดของศัตรูพืช คือ 1) สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) 2) สารป้องกันกำจัดวัชพืช (Herbicide) 3) สารป้องกันกำจัดโรคพืช (Fungicide) 4) สารป้องกันกำจัดไร (Accaricide) 5) สารป้องกันกำจัดไส้เดือนฝอย (Nematicide) 6) สารป้องกันกำจัดหนู (Rodenticide)

ซึ่งพืชผักเป็นกลุ่มที่มีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticide) มากที่สุด ดังนั้นจึงจะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้สารเคมีในกลุ่มนี้เป็นหลัก

การจำแนกชนิดของสารเคมีตามลักษณะการเข้าทำลายศัตรูพืช คือ

1)ประเภทกินตาย (Stomach Poison) 2) ประเภทถูกตัวตาย (Contact Poison)

3) ประเภทดูดซึม (Systemic) 4) ประเภทรมควัน (Fumigant)

การจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลง (Insecticides) ปัจจุบันมีการจำแนกสารป้องกันกำจัดแมลงออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนคลอรีน กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมทและกลุ่มไพรีทรอยด์

1) กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorines) เป็นกลุ่มที่ใช้มาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองสารพิษสามารถตกค้างได้ดีในไขมันและมีพิษตกค้างนานจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับศัตรูพืชอาหาร และส่วนมากได้ยกเลิกใช้ทางเกษตรไปแล้วหลายชนิด เช่น DDT และ Dieldein แต่ยังคงใช้ในด้านอื่นๆ เช่นใช้ DDT ในการกำจัดยุงและใช้ Dieldrin ในการกำจัดปลวก

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะดูดซับได้ดีทางลำไส้และผิวหนัง เมื่อได้รับในปริมาณมาก พอจะเกิดผลกระทบต่อการทำงานทางระบบประสาท โดยเฉพาะสมองและส่วนที่ควบคุมระบบหายใจ

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ปวดศีรษะ ตกใจง่าย ตกมัว ชาตามปลายมือและเท้า มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก ชักหมดสติ

อาการพิษเรื้อรัง เบื่ออาหารและอ่อนเพลียและพิษเรื้อรัง น้ำหนักลด ตับเสื่อมสมรรถภาพ อ่อนแอติดเชื้อง่าย

2) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates) สารกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกัน กำจัดดีมีพิษตกค้างไม่นาน ควรใช้อัตราตามคำแนะนำเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปริมาณของสารพิษ ที่เข้าไปในร่างกายจะทำปฏิกิริยากับเอนไซม์โคลินเนสเตอเรส (Cholinesterase) อย่างถาวร ทำให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ประสาทกล้ามเนื้อกระตุกสั่นจนเกิดอาการแกว่ง แต่ถ้าหากอซิติลโคลีนเพิ่มมากขึ้นแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อเรียบอ่อนเพลียจนเป็นอัมพาต

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน แน่นหน้าอก มวนท้อง เหงื่อออก น้ำลายและน้ำตาไหล ม่านตาหรี่ กล้ามเนื้อกระตุก มึนงง กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชัก หมดสติ เป็นอัมพาต หายใจขัดและหัวใจเต้นช้า หอบ

อาการพิษเรื้อรัง มีอาการทางระบบประสาทส่วนกลางและกล้ามเนื้อ

3) กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamates) ใช้กันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะแมลงชนิดปากดูดและศัตรูพืชที่อยู่ในดิน เช่นไส้เดือนฝอยและหอยทาก สารกลุ่มนี้มีทั้งมีพิษร้ายแรงและปานกลางมีระยะเวลาในการตกค้างสั้น ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะมีความปลอดภัยสูงต่อผู้บริโภค

พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะจะมีลักษณะคล้ายกับสารพิษในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต แต่ร่างกายของคนที่ได้รับสารพิษกลุ่มนี้จะกลับคืนเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วกว่าการเกิดพิษจากกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตเนื่องจากยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ดคลีนเอสเทอเรสแบบไม่ถาวร (Reversibie) อาการรุนแรงจึงน้อยกว่าและระยะเวลาน้อยกว่าจึงหายเองได้

อาการพิษเฉียบพลัน คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก เหงื่อออก ม่านตาหด กล้ามเนื้อสั่น กระตุก

4) กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพราะมีการสลายตัวได้เร็ว มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น สามารถใช้ทดแทนสารเคมีในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตแต่จะมีระยะการดื้อยาได้เร็วและมีราคาแพงกว่าสารพิษในกลุ่มอื่นๆ พิษวิทยาของสารในกลุ่มนี้จะเป็นพิษต่อการทำงานของระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงสลบได้ทันทีและตายได้ในที่สุด แต่มีพิษน้อยต่อคนและสัตว์เลือดอุ่น

อาการพิษเฉียบพลัน ผิวหนังคน บวมแดง พุพอง ไอ จาม คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ชาที่ริมฝีปาก กล้ามเนื้อกระตุก

เนื่องจากสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชจะตกค้างในต้นพืช ดังนั้นหลังจากการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชแล้ว ก่อนที่ผู้ผลิตจะทำการเก็บเกี่ยวจะต้องมีการทิ้งระยะเวลาเพื่อให้สารกำจัดศัตรูพืชสลายตัวเสียก่อน

มาตรการสุขอนามัย
ความสำคัญ เนื่องจากการำธุรกิจอาหารเพื่อการส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วการบังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัย ซึ่งตามข้อตกลงทางการค้าเรื่องสินค้าเกษตรได้ยอมรับให้สินค้าเกษตรต้องปฏิบัติตามข้อตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวิตถุประสงค์ให้ประเทศต่างๆ ใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยฯ ความตกลงนี้ได้อนุญาตให้ประเทศสมาชิกกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัยที่จำเป็นเพื่อป้องกันสุขภาพขอมนุษย์ พืชและสัตว์ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิกที่ดำเนินการด้วยเงื่อนไขอย่างเดียวกัน รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกใช้มาตรการสุขอนามันตามมาตาฐาน แนวทางและข้อเสนอแนะต่างๆ ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกยังสามารถกำหนดระดับการคุ้มครองสุขอนามัยที่สูงกว่ามาตาฐานสากลได้ หากมีเหตุผลและข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุน ความตกลงนี้ยังได้กำหนดกฎระเบียบและขอบเขตของความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระดับความเหมาะสมในการคุ้มครองด้านสุขอนามัย ประเทศสมาชิกต้องยอมรับมาตรการด้านสุขอนามัยของประเทศสมาชิกอื่นๆ แม้ว่ามาตรการจะแตกต่างกัน ถ้าหากมาตรการนั้นมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองสุขอนามัยในระดับที่เหมาะสมสำหรับประเทศผู้นำเข้าและสามารถที่จะตรวจสอบได้โดยหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรในปัจจุบัน กฎระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

การนำเข้าผักสดจากต่างประเทศ ต้องปฏิบัติตามกฏระเบียบการนำเข้าที่แต่ละประเทศกำหนดไว้เกี่ยวกับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขอนามัยของประชาชนในประเทศและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ดังนี้

1) ประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้าผักสด ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 จนถึง 2537 พืชและผลผลิตของพืชทุกชนิดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจโรคแบะแมลงศัตรูพืชจาก เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรมวิชาการเกษตร สำหรับผักสามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทางและกรมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผักด้วย

นอกจากนี้ผลไม้สามารถนำเข้ามาในประเทศได้โดยไม่ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืชจากประเทศต้นทาง และกรัมวิชาการเกษตรไม่ได้ตรวจสอบสารตกค้างท่ติมากับผลไม้ด้วย ยกเว้นพืชตระกูลส้มทุกชนิด เป็นสิ่งตองห้ามนำเข้ามาในประเทศในกรณีที่มีวัตถุประสงศ์ในการนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัยต้องทำหนังสือขออนุญาตจากอธิบดีกรมวิชาการเกษตร

2) ประเทศญี่ปุ่น มีกฎระเบียบตาม Introduction to Standards Certification and other Regu lations in Japan ที่เกี่ยวกับการนำเข้าผัก/ผลไม้สด ดังนี้

(1) Plant Protection Law จะกำหนดเงื่อนไขการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย

-Import-prohibited items ประกาศห้ามนำเข้าผลไม้บางชนิดจากแหล่งผลิตใดแหล่งผลิตหนึ่งหรือทั้งหมดเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคและแมลง (Fruits flies) โดยจะอนุญาตให้นำเข้าได้ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสามารถกำจัดโรคและแมลงได้ทั้งหมด หรืออนุญาตให้นำเข้าได้ในรูปของผลไม้แช่แข็ง ณ ระดับอุณภูมิเท่ากับหรือต่ำกว่า-17.8 องศาเซลเซียส หรือ 0 องศาฟาเรนไฮต์

-Conditionally permitted items รัฐบาลญี่ปุ่นจะประกาศชนิดและพันธุ์ผลไม้ที่อนุญาตให้นำเข้าได้ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เช่น ต้องผ่านกรรมวิธีกำจัดแมลงตามที่รัฐบาบญี่ปุ่นเห็นชอบ มีเอกสารรับรองปลอดศัตรูพืชจากรัฐบาลของประเทศผู้ส่งออก การบรรจุหีบห่อและการขนส่งเป็นไปตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นกำหนด

(2) Food Sanitation Law อาหารทุกชนิดรวมทั้งผลไม้ที่นำเข้ามาในประเทศต้องแจ้งกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นและต้องมีใบรับรองการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐบาลประเทศผู้ส่งออกหรือสถาบันที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยต้องผ่านการตรวจสอบสารตกค้างที่ติดมากับผลไม้จากเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นด้วย

3) ประเทศในสหภาพยุโรป ตามกฎระเบียบขอบสหภาพยุโรปเกี่ยวกับปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ในผักและผลไม้และผลิตภัณฑ์ที่มีจากพืชบางชนิดนั้น สหภาพยุโรปออก Council Directive 90/642/EEC ในปี 1990 เพื่อควบคุมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างทั้งภายในและผิวนอกของผลิตภัณฑ์จากพืชรวมทั้งผักและผลไม้เป็นการกำหนดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี โดยยังไม่ได้กำหนดของสารเคมีและปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

ในปี 1993 และ 1994 ได้ออก Council Directive 93/58/EEC และ Council Directive 94/30/EC เพื่อปรับปรุง Council Directive 90/642/EEC โดยกำหนดรายชื่อสารเคมี และปริมาณสูงสุดของสารตกค้าง

4) ประเทศแคนาดา กฎระเบียบด้านสุขอนามัยของแคนาดาคือผักและผลไม้สดที่นำเข้ามาในประเทศจะต้องผ่านการตรวจสอบสารเคมีปราบศัตรูพืช สารเคมีป้องกันและกำจักแมลงและเชื้อราจาก Food and Drug Inspection ของกระทรวงสาธารณสุขแคนาดาและต้องตรวจสอบเกี่ยวกับแมลงและโรคพืชจากกระทรวงเกษตรแคนาดา นอกจากนี้รัฐบาลแคนาดายังคำนึงความปลอดภัยของผู้บริโภคผักและผลไม้สดโดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความปลอดภัยไว้ดังนี้

(1) จะต้องไม่มีส่วนผสมของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือสารประกอบอื่นในผักและผลไม้ที่บริโภคดิบ ยกเว้นองุ่น

(2) ห้ามนำเข้าผลและผลไม้ที่อาบรังสี ยกเว้นมันฝรั่งและหอมใหญ่

5) ประเทศออสเตรเลีย ห้ามนำเข้าผลไม้สดจากไทยทุกชนิดนอกจากผลไม้แช่แข็งโดยผู้ส่งออกผลไม้ไปยังประเทศออสเตรเลียต้องขอคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียว่าผลไม้ชนิดใดได้รับอนุญาตให้นำเข้าได้

6) ประเทศสิงคโปร์ กำหนดปริมาณการใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในการถนอมผลไม้ในระเบียบว่าด้วยอาหารปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ.2531) โดยไม่อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในเนื้อลำไยแต่ยอมให้ตกค้างอยู่บนเปลือกได้ไม่เกิน 350 ppm

มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม

นอกจากการผลิตจะต้องคำนึงถึงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยในการผลิตสินค้าเกษตรตามที่กล่าวมาแล้ว ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสนใจกับการอนุรักษ์มากขึ้น อาทิเช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity loss) ปัญหามลภาวะและของเสีย (Pollution and waste) เป็นต้น แนวความคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีหลายรูปแบบ อาทิ การวางกฎระเบียบให้ปฏิบัติ การให้การศึกษาและข้อมูล การทำข้อตกลงพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโดยสมัครใจ และบางครั้งใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจและการค้ามาควบคุมสิ่งแวดล้อมด้วย

การตรวจสอการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยในประเทศไทย

ความสำคัญ สาเหตุที่ต้องมีการตรวจสอบการผลิตและจำหน่ายผักและผลไม้อนามัยก็เพราะในปัจจุบัน มีการแข่งขันทางการค้ากันมาก ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เพราะประเทศที่นำเข้าจะใช้มาตรการและการตรวจสอบสินค้าอย่างเข้มงวด ประกอบกับมีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Orhanization หรือ WTO) ซึ่งมีการใช้มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืข (Sanitary and Phytosanitary Measures,SPS)

สภาพการณ์ดังกล่าวทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อพัฒนาระบบการผลิตพืชที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น 1) มีการผลิตทางการเกษตรอย่างถูกต้องและเหมาะสม (Good Agricultural Practice, GAP) 2) มีระบบวิเคราะห์หาอันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องทำการควบคุม (Hazard Analysis Critical Control Point System, HACCP) ที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคอันเป็นระบบมาตรฐานอาหารที่เกี่ยวกับความปลอดภัยที่ประเทศทั่วโลกยอมรับ 3) หลักการประกันคุณภาพ (Quality Assurance, QA) 4) การผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice, GMP) และ 5) ในขณะนี้สหภาพยุโรปได้เรื่มใช้กฎและระเบียบเกี่ยวกับระบบการจัดการคุณภาพด้านพืช หรือ PQMS (Plant Quality Manahement System) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลสำหรับการผลิตพืชทั่วไปอันเป็นระบบที่ประยุกต์มาจาก QA, GMP, HACCP, GAP ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับ 1) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการผลิต 2) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแยกบรรจุ 3) ระบบการจัดการคุณภาพด้านการแปรรูปสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับ (1)สิ่งแวดล้อม (2)ความปลอดภัยในการบริโภค และ (3) จริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น